เปิดตำนาน “อุบาสกคู่แรกของโลก” ผู้ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าหลังจากตรัสรู้

1109
views

เปิดตำนาน “อุบาสกคู่แรกของโลก” ผู้ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าหลังจากตรัสรู้ !!! หายคาใจ เหตุใด…สำเภาเรือ จึงเป็นเอกลักษณ์คู่วัดมอญ

เปิดตำนาน “อุบาสกคู่แรกของโลก” ผู้ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าหลังจากตรัสรู้ !!! หายคาใจ เหตุใด…สำเภาเรือ จึงเป็นเอกลักษณ์คู่วัดมอญ

หลังจากพระพุทธเจ้าเสวยข้าวสัตตุนั้นแล้ว ได้ลูบพระเศียรซึ่งมีพระเกศาติดพระหัตถ์มาด้วย ๘ เส้น ทรงประทานพระเกศานั้นแด่สองพี่น้องเป็นสิ่งแทนพระองค์ เพื่อน้อมนำถึงพระธรรมคำสอนของพุทธองค์อันเป็นมงคลชีวิต สองพี่น้องได้นำกลับมาถวายกษัตริย์แห่งรามัญประเทศนาม พระเจ้าเอิกกะลาปะ พระองค์โปรดฯ ให้สร้างพระเจดีย์เละเกิ่ง (ชเวดากอง) ประดิษฐานไว้ยังรามัญเทศะสืบมา

ส่วนในทางประวัติศาสตร์ คัมภีร์ทางพุทธศาสนา อันได้แก่ “สมันตปาสาทิกา” โดยพระพุทธโฆษาจารย์ (มีชีวิตอยู่เมื่อ พ.ศ. ๙๒๗-๙๗๓) และ “มหาวงศ์” ในรัชสมัยพระเจ้ามหานามะ (ครองราชย์ พ.ศ. ๙๕๕-๙๗๗) คัมภีร์ทั้งสองแต่งในลังการาวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๐ ระบุว่า ในราวปี พ.ศ. ๒๓๕ พระเจ้าอโศกมหาราชแห่งอินเดีย (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๗๐- ๓๑๑) ได้อาราธนาพระสมณทูต อัญเชิญพระไตรปิฎกออกเผยแผ่ไปยังดินแดนต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งสิ้น ๙ สาย หนึ่งในนั้นคือ ดินแดนสุวรรณภูมิ ที่นำโดยพระมหาเถระสำคัญทั้งสอง คือ พระโสณะ และพระอุตตระ ได้อัญเชิญพระไตรปิฎกลงเรือสำเภาจากดินแดนพุทธภูมิสู่รามัญประเทศ นับเป็นจุดเริ่มต้นในการประดิษฐานพุทธศาสนายังสุวรรณภูมิอย่างมั่นคง

“จารึกกัลยาณี” โดยพระเจ้าธรรมเจดีย์ (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๐๑๕-๒๐๓๕) กษัตริย์มอญแห่งหงสาวดี รับสั่งให้จารึกศิลา ๑๐ หลัก เมื่อปี พ.ศ. ๒๐๒๒ อันเป็นแหล่งอ้างอิงประวัติพุทธศาสนาที่สำคัญของชาติต่างๆ ระบุว่า “สุวรรณภูมิ” สถานที่ซึ่งสมณทูตของพระเจ้าอโศกทั้งสองได้นำพระไตรปิฎกมาถึงนั้นมีชื่อเรียกว่า “รามัญประเทศ” หรือ “ประเทศของชาวมอญ” ปัจจุบันคือดินแดนทางตอนใต้ของ “ประเทศเมียนมา”

การอภิปรายในแวดวงวิชาการจากหลักฐานเท่าที่พบ พอจะสรุปได้ว่า “สุวรรณภูมิ” คือดินแดนทางตะวันออกของอินเดีย ส่วนที่เป็นแผ่นดิน มีความเป็นไปได้ว่า น่าจะเป็นประเทศเมียนมา ไทย ลาว และกัมพูชา ส่วนที่เป็นเกาะน่าจะได้แก่ ชวา สุมาตรา (อินโดนีเซีย) และฟิลิปปินส์ และเมื่อพิจารณาหลักฐานทางโบราณคดีเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา พบว่า เมืองสะเทิม เมืองอู่ทอง และเมืองนครปฐม สมัยทวารวดี มีอายุเก่าแก่ที่สุดและร่วมสมัยกัน คือ ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑

อย่างไรก็ตาม ตำนานการอัญเชิญพระไตรปิฎกโดยสำเภาจากชมพูทวีปสู่สุวรรณภูมิยังคงเป็นสัญลักษณ์ทางจิตใจให้โน้มน้าวถึงวาระสำคัญแห่งการมาถึงของพระพุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิ แสดงถึงความมั่นคงในศรัทธาของชาวมอญ กระทั่งสืบทอดความเชื่อตามคติมอญมาจวบจนปัจจุบัน อันนับเป็นเอกลักษณ์วัดมอญอย่างหนึ่งที่มักจะขาดเสียไม่ได้ นั่นคือ พระเจดีย์สามองค์ (แทนพระไตรปิฎก) ตั้งอยู่บนเรือสำเภา

ต้นฉบับโดย : เครือข่ายนิสิตอาเซียนเพื่อการพัฒนาสังคมและพหุวัฒธรรมอาเซียนอย่างยั่งยืน

 
ถมนคร : คุณค่าที่คู่ควร ถมนคร, thomnskhon
 
SHARE