อลังการงานสร้าง “11 อันดับพระใหญ่” พุทธศิลป์ที่สูงตระหง่านอยู่คู่เมืองไทย

2275
views

การสร้างพระพุทธรูปในวัดต่าง ๆ ทุกวันนี้ ล้วนแต่มีขนาดใหญ่ไม่แพ้กัน โดยพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่ดูน่าเลื่อมใสผสมกับให้ความรู้สึกอลังการเหล่านี้ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวและพุทธศาสนิกชนให้เข้าวัดมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นเสมือนงานพุทธศิลป์ที่จะอยู่คู่เมืองไทยและอยู่คู่โลกสืบต่อไปอีกด้วย

ครั้งนี้จึงคัดเลือกเอาพระพุทธรูปที่สูงใหญ่ที่สุดในประเทศไทย 11 อันดับมารวบรวมไว้ให้ชมกัน แต่ทั้งนี้อันดับที่จัดขึ้นนั้นนับเฉพาะพระพุทธรูปเท่านั้น ไม่นับรวมรูปปั้นพระเกจิอาจารย์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่น ๆ


หลวงพ่อใหญ่ จ.อ่างทอง สูงใหญ่อันดับ 1 ในไทย

อันดับ 1 พระพุทธมหานวมินทร์ศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ วัดม่วง จ.อ่างทอง

“พระพุทธมหานวมินทร์ศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ” หรือ “หลวงพ่อใหญ่” ประดิษฐานอยู่ที่วัดม่วง อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่มีขนาดหน้าตักกว้าง 63 เมตร สูงถึง 93 เมตร สามารถมองเห็นได้จากระยะไกล พระพุทธรูปองค์นี้สร้างแล้วเสร็จเมื่อปี 2552 และมีการสร้างองค์จำลองประดิษฐานไว้ด้านล่างเพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้จุดธูปเทียนบูชา ส่วนด้านหน้าทางขึ้นมาสักการะองค์หลวงพ่อใหญ่ ทำเป็นบันไดสูงมีพญานาคเลื้อยเป็นราวบันไดตรงกลาง ด้านซ้ายและด้านขวาของบันได

พระพุทธโชค จ.ลพบุรี
พระพุทธโชค จ.ลพบุรี (ภาพจากเพจ วัดเขาวงพระจันทร์ – KhaowongPhrachan Temple)

อันดับ 2 พระพุทธโชค วัดเขาวงพระจันทร์ จ.ลพบุรี

“พระพุทธโชค” หรือ “พระเชียงแสน” เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะสมัยเชียงแสน มีขนาดใหญ่ที่สุดในจังหวัดลพบุรี และใหญ่เป็นลำดับที่ 2 ของประเทศไทย ประดิษฐานอยู่บริเวณริมเชิงเขาวงพระจันทร์ ขนาดหน้าตักกว้าง 45 เมตร สูง 75 เมตร ก่อสร้างแล้วเสร็จสมบูรณ์ เมื่อต้นปี พ.ศ. 2561

พระพุทธรัตนมงคลมหามุนี จ.ร้อยเอ็ด
พระพุทธรัตนมงคลมหามุนี จ.ร้อยเอ็ด

อันดับ 3 “พระพุทธธรรมกายเทพมงคล” พระพุทธรูปปางสมาธิ ที่จัดสร้างขึ้นตามนิมิตของหลวงพ่อสด อดีตเจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ ทำด้วยทองแดงจากทองแดงบริสุทธิ์ 99.99% ตามนิมิตของหลวงพ่อสด อดีตเจ้าอาวาสวัด สูง 69 เมตร เทียบเท่าตึก 20 ชั้น ที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 29 ธ.ค. สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดปากน้ำฯ ที่ปรึกษากรรมการมหาเถร สมาคม (มส.) เป็นประธานในพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ดอกบัวสัตตบงกช หัวใจทองคำ ลงภายในพระพุทธรูปองค์ใหญ่ “พระพุทธธรรมกายเทพมงคล”

ภาพ : แฟนเพจ Nate Hilti
พระพุทธธรรมกายเทพมงคล กรุงเทพฯ

อันดับ 4 พระพุทธรัตนมงคลมหามุนี วัดบูรพาภิราม จ.ร้อยเอ็ด
“พระพุทธรัตนมงคลมหามุนี” หรือ “หลวงพ่อใหญ่” พระพุทธรูปปางประทานพร สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ด้านนอกองค์พระบุด้วยกระเบื้องโมเสกสีเนื้อ เฉพาะองค์พระมีความสูง 59.20 ม. ความสูงรวมฐานประมาณ 67 ม. ชนิดที่ที่ว่าต้องแหงนคอตั้งบ่าชมกันเลยทีเดียว

พระพุทธมิ่งมงคลเอกนาคคีรี ยอดเขานาคเกิด จ.ภูเก็ต
พระพุทธมิ่งมงคลเอกนาคคีรี ยอดเขานาคเกิด จ.ภูเก็ต (ภาพจาก www.phuketnicetrip.com)

อันดับ 5 พระพุทธมิ่งมงคลเอกนาคคีรี ยอดเขานาคเกิด จ.ภูเก็ต

“พระพุทธมิ่งมงคลเอกนาคคีรี” ประดิษฐานอยู่บนยอดเขานาคเกิด ต.กะรน อ.เมือง จ.ภูเก็ต เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะแบบร่วมสมัย ขนาดหน้าตักกว้าง 25.45 เมตร ความสูง 45 เมตร ประดับผิวด้วยหินอ่อนหยกขาวสุริยกันตะจากพม่า น้ำหนักเฉพาะหินอ่อนหยกขาวประมาณ 135 ตัน

พระพุทธปุษยคีรีศรีสุวรรณภูมิ จ.สุพรรณบุรี (ภาพจากเพจ พุทธสถาน พระพุทธปุษยครีศรีสุวรรณภูมิ)
พระพุทธปุษยคีรีศรีสุวรรณภูมิ จ.สุพรรณบุรี

อันดับ 6 พระพุทธปุษยคีรีศรีสุวรรณภูมิ วัดเขาทำเทียม จ.สุพรรณบุรี

“พระพุทธปุษยคีรีศรีสุวรรณภูมิ” หรือ “หลวงพ่ออู่ทอง” ประดิษฐานอยู่ ณ พุทธมณฑลประจำจังหวัดสุพรรณบุรี เขาทำเทียม อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุร เป็นพระพุทธรูปปางโปรดพุทธมารดา ขนาดความสูง 35 เมตร ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี 2562 มีความพิเศษคือเป็นพระพุทธรูปแกะสลักที่หน้าผาหิน

พระศรีอริยเมตไตรย กรุงเทพมหานคร
พระศรีอริยเมตไตรย กรุงเทพมหานคร

อันดับ 7 พระศรีอริยเมตไตรย, พระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถคันธารราฐอนุสรณ์ และพระพุทธโลกเชฏฐ์ วิเศษกิตติปาล มหาชนบูชิต

สำหรับอันดับ 8 นี้ มีพระพุทธรูปที่ความสูง 32 เมตร เท่ากันอยู่ 3 แห่งด้วยกัน ได้แก่ “พระศรีอริยเมตไตรย” หรือ “หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร” เป็นพระพุทธรูปยืนปางอุ้มบาตร ส่วนบนยอดเกศประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุไว้,

พระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถคันธารราฐอนุสรณ์ จ.กาญจนบุรี
พระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถคันธารราฐอนุสรณ์ จ.กาญจนบุรี

“พระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถคันธารราฐอนุสรณ์” วัดทิพย์สุคนธาราม อ.ห้วยกระเจา จ.กาญจนบุรี เป็นพระพุทธรูปปางคันธารราฐ (ปางขอฝน)

พระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถคันธารราฐอนุสรณ์
พระพุทธโลกเชฏฐ์ วิเศษกิตติปาล มหาชนบูชิต จ.สมุทรปราการ

และสุดท้ายคือ “พระพุทธโลกเชฏฐ์ วิเศษกิตติปาล มหาชนบูชิต” วัดบางปิ้ง อ.เมือง จ.สมุทรปราการ เป็นพระพุทธรูปปางเปิดโลก

พระพุทธสุรินทรมงคล เขาชาย จ.สุรินทร์
พระพุทธสุรินทรมงคล เขาชาย จ.สุรินทร์

อันดับ 8 พระพุทธสุรินทรมงคล เขาชาย จ.สุรินทร์

“พระพุทธสุรินทรมงคล” หรือ “พระใหญ่” พระพุทธรูปปางประทานพร หน้าตักกว้าง 15 ม. ความสูง 25 เมตร ที่ประดิษฐานอยู่บนเขาชาย 1 ในภูเขา 3 ยอดที่ วนอุทยานพนมสวาย” อ.เมือง จ.สุรินทร์

พระมหาพุทธพิมพ์ จ.อ่างทอง
พระมหาพุทธพิมพ์ จ.อ่างทอง

อันดับ 9 พระมหาพุทธพิมพ์ วัดไชโยวรวิหาร จ.อ่างทอง

“พระมหาพุทธพิมพ์” หรือ “หลวงพ่อโต” เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ขัดสมาธิราบ ก่ออิฐถือปูนลงรักปิดทอง ความสูง 22.67 เมตร พุทธลักษณะของหลวงพ่อโตนั้นโดดเด่นกว่ายุคสมัย คือ พระพักตร์และพระกรรณเหมือนคนธรรมดามากกว่า และมีริ้วรอยย่นของสบง จีวร อย่างชัดเจน

พระพุทธมงคลมหาราช เขาคอหงส์ จ.สงขลา
พระพุทธมงคลมหาราช เขาคอหงส์ จ.สงขลา

อันดับ 10 พระพุทธมงคลมหาราช เขาคอหงส์ จ.สงขลา

“พระพุทธมงคลมหาราช” หรือ “พระพุทธรูปประจำเมืองหาดใหญ่” ประดิษฐานอยู่บนบนยอดเขาคอหงษ์ ในบริเวณสวนสาธารณะเทศบาลเมืองหาดใหญ่ จ.สงขลา เป็นพระพุทธรูป ปางประทานพร มีความสูง 19.90 เมตร ออกแบบโดย ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี ผู้เป็นศิลปินแห่งชาติ ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี 2542

พระพุทธไตรรัตนนายก จ.พระนครศรีอยุธยา
พระพุทธไตรรัตนนายก จ.พระนครศรีอยุธยา

อันดับ 11 พระพุทธไตรรัตนนายก วัดพนัญเชิง จ.พระนครศรีอยุธยา

“พระพุทธไตรรัตนนายก” หรือ “หลวงพ่อโต” เป็นพระประธานในพระวิหารวัดพนัญเชิง อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย หน้าตักกว้างประมาณ 20 เมตร สูง 19.20 เมตร เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วไป รวมไปถึงชาวจีนซึ่งขนานนามหลวงพ่อโตองค์นี้ว่า “ซำปอกง” หรือ “ซำปอฮุดกง”

และนี่คือ 11 อันดับพระใหญ่คู่เมืองไทย ที่เกิดจากแรงศรัทธาของปวงชน แต่สถิตินี้อาจจะถูกลบไปในวันใดวันหนึ่ง เพราะเชื่อแน่ว่าในอนาคตคงจะมีการสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่เพิ่มมากขึ้นอีกแน่นอน

**หมายเหตุ ข้อมูลจากวิกิพีเดีย ณ วันที่ 25 ตุลาคม 2563

ดูต้นฉบับ

 
ถมนคร : คุณค่าที่คู่ควร ถมนคร, thomnskhon
 
SHARE