ตามรอยพราหมณ์ ศิลาจารึกหุบเขาช่องคอย อ.จุฬาภรณ์ จ.นครศรีธรรมราช

8984
views
ตามรอยพราหมณ์ ศิลาจารึกหุบเขาช่องคอย

ศิลาจารึก หุบเขาช่องคอย

ศิลาจารึกหุบเขาช่องคอย ศิลาจารึกหุบเขาช่องคอย ตั้งอยู่บนเทือกเขาบรรทัดอยู่ที่ ม. 5 ต.ทุ่งโพธิ์ อ.จุฬาภรณ์ จ.นครศรีธรรมราชซึ่งเป็นบริเวณที่พักระหว่างเส้นทางข้ามคาบสมุทรตอนกลางในโบราณจึงได้ขนานนามว่า “ ศิลาจารึกช่องคอย , ศิลาจารึกหุบเขาช่องคอย” ได้ถูกค้นพบเมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ.2522 โดยนายจรง ชูกลิ่น และนายถวิล ช่วยเกิด ซึ่งอาศัยอยู่ในหมู่บ้านคลองท้อน หมู่ที่ 9 ตำบลทุ่งโพธิ์ อำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้เดินทางไปในป่าแถบเขาช่องคอยซึ่งอยุ่ห่างจากบ้านโคกสะท้อน ตำบลทุ่งโพธิ์ อำเภอจุฬาภรณ์ ไปทางทิศใต้ประมาณ 2 กิโลเมตร

ศิลาจารึก หุบเขาช่องคอย

ณ บริเวณหุบเขาช่องคอยนี้เอง บุคคลทั้งสองได้พบแผ่นหินกว้างใหญ่อยู่ใกล้กับร่องน้ำที่ไหลลงมาจากระหว่างหุบเขา ศิลาจารึกช่องคอยหรือศิลาจารึกหุบเขาช่องคอยลักษณะศิลาจารึกเป็นหินขนาด กว้าง 1.60 เมตรยาว 6.80 เมตร สูง 1.20 เมตรตั้งอยู่บริเวณหน้าผาระหว่างหุบเขาสามารถมองเห็นพื้นที่ราบด้านล่างได้ชัดเจนด้านบนเป็นแผ่นราบมีอักษรปัลลวะจารึกเป็นข้อความ 3 ตอนซึ่งแปลเป็นภาษาไทยปัจจุบันได้ดังนี้.

ศิลาจารึกหุบเขาช่องคอย
ตอนที่ 1 ศิลาจารึกนี้เป็นของพระศิวะ
“ศฺรีวิทฺยาธิการสฺย”
อธิบายว่า เป็นพระนามอันหนึ่งของพระศิวะ ซึ่งแปลว่าผู้เป็นสวามีของนางวิทยาเทวี (นางทุรคา) นางวิทยาเทวีเป็นร่างหนึ่งของนางทุรคา

ศิลาจารึกหุบเขาช่องคอย

ตอนที่ 2 ขอความนอบน้อมจงมีแก่ท่านผู้อยู่เป็นเจ้าแห่งป่าพระองค์นั้นขอความนอบน้อมจงมีแก่ท่านผู้เป็นเจ้าแห่งเทพทั้งมวลพระองค์นั้นชนทั้งหลายเคารพต่อพระศิวะขอให้ท่านผู้เจริญนี้เป็นที่พึง ให้บุคคลที่อยู่ที่นี้มีประโยชน์ทั่วกัน

ศิลาจารึกหุบเขาช่องคอย

ตอนที่ 3 ถ้าคนดีอยู่ในหมู่บ้านของชนเหล่าใดความสุขและผลจักมีแก่ชนเหล่านั้น

อักษรที่จารึกเป็นภาษาสันสกฤตอักษรปัลลวะซึ่งเป็น อักษรที่พบในอาณาจักรตามพรลิงค์อันเป็นสถานที่ติดต่อแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าของพราหมณ์มาตั้งแต่ พุทธศตวรรษ ที่ 11 อักษรที่จารึกมีรูปแบบเหมือนกับอักษรในจารึกพระราชทานพระบรมชูปถัมถ์ของพระเจ้าสิงหวรมันแห่งอินเดียตอนใต้สมัยพุทธศตวรรษ ที่ 11

ศิลาจารึก หุบเขาช่องคอย

การค้นพบศิลาจารึกหุบเขาช่องคอยทำให้ได้ทราบหลักฐานเกี่ยวกับอารยธรรมของกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณภาคใต้โดยเฉพาะในเขตเมืองนครศรีธรรมราชในอดีตกาล และได้ค้นพบร่องรอยแห่งพราหมณ์ทั้งหลายในนครศรีธรรมราช จากลักษณะรูปอักษรที่ปรากฎในจารึกประมาณได้ว่าจารึกนั้นสร้างขึ้นในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12 ซึ่งร่วมสมัยกับจารึกวัดมเหยงณ์ จารึกวัดพระมหาธาตุ ฯ จังหวัดนครศรีธรรมราชและจารึกเขาพระนารายณ์จังหวัดพังงากลุ่มคนผู้สร้างศิลาจารึกหุบเขาช่องคอยขึ้นนี้เป็นกลุ่มชนที่ใช้ภาษาสันสกฤต นับถือศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกายและคงจะได้เดินทางเข้ามาพำนักอาศัยในบริเวณนั้นเป็นการชั่วคราว โดยได้เดินขึ้นไปบนยอดเขาช่องคอย แล้วสมมุติให้เป็นศูนย์กลางของจักรวาลเพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาพราหมณ์ สถานที่แห่งนั้นจึงได้กลายเป็นศาสนะสถานของพราหมณ์ลัทธิไศวะนิกายเพื่อปฏิบัติศาสนกิจตามจารีตของพราหมณ์พร้อมๆ กันนั้นก็อบรมสั่งสอนให้ผู้อยู่ในสันนิบาตนั้นสำนึกในความเป็นคนต่างถิ่นพลัดบ้านเมืองมาสมควรประพฤติตนเป็นคนดีจะได้พำนักอาศัยอยู่ร่วมในสังคมที่มีขนบธรรมเนียมแตกต่างกันได้อย่างสุขสงบและ สันติ แต่เนื่องสภาพดินฟ้าอากาศหรือธารน้ำและน้ำตกที่ไหลลงมาจากเขาช่องคอยไม่ได้เอื้ออำนวยในการดำรงค์ชิวิตโดยเฉพาะในช่วงหน้าแล้งน้ำก็ไม่ค่อยสมบูรณ์เนื่องจากเป็นภูเขาลูกเล็ก พราหมณ์ทั้งหลายจึงไม่ได้ใช้สถานที่แห่งนั้นก่อสร้างเป็นเทวสถานใหญ่เหมือนดังเช่นที่โบราณสถานเขาคาซึ่งมีแม่น้ำใหญ่ที่ไหลอยู่ตลอดเวลาเพื่อสมมุติให้เป็นแม่น้ำคงคาในการลงอาบและประกอบศาสนกิจในทางศาสนาพราหมณ์

ศิลาจารึก หุบเขาช่องคอย

ศิลาจารึก หุบเขาช่องคอย

การพิจารณาศิลาจารึกหุบเขาช่องคอยในทางอักขรวิทยาจาเป็นต้องศึกษาวิเคราะห์ลักษณะเส้นสันฐานแห่งรูปอักษรจะเห็นได้ว่าลักษณะรูปอักษรในศิลาจารึกหุบเขาช่องคอยเหมือนกับรูปอักษรในจารึกวัดมเหยงคณ์จังหวัดนครศรีธรรมราช และจารึกอื่นๆที่ใช้รูปอักษรปัลลวะในศาสนะสถานของพราหมณ์ในภาคใต้ซึ่งจารึกขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 12 เมื่อนำรูปอักษรในจารึกดังกล่าวมาเปรียบเทียบกันแล้วจะทราบได้ว่าเป็นรูปอักษรร่วมสมัยกันศิลาจารึกหุบเขาช่องคอยจารึกขึ้นในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12 ด้วยภาษาสันสกฤต เทวนาครีปัจจุบันศิลาจารึกสถานช่องคอย อยู่ในความดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งโพธิ์

จากการสำรวจร่องรอยแห่งพราหมณ์ได้พบว่า จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นแหล่งอารธรรมโบราณที่มีพราหมณ์ชุกชุมมากที่สุดในประเทศไทย สืบเนื่องจากได้ค้นพบร่องรอยแห่งพราหมณ์ และซากอิฐเทวสถานต่างๆ มากมาย และยังมีอีกหลายสถานที่ๆชาวบ้านพบเจอในสถานที่ของเขาเองแต่ไม่ได้แจ้งให้ทางกรมศิลป์เข้าไปสำรวจในสถานที่บ้านหรือเรือกสวนไร่นาของเขาเหล่านั้น

อ้างอิง ตามรอยพราหมณ์ศิลาจารึกหุบเขาช่องคอย phram.org

ศิลาจารึก หุบเขาช่องคอย

น้ำในลำธารบริเวณที่ใหลผ่านศิลาจารึกหุบเขาช่องคอย
สันนิษฐานกันว่าเป็นที่การปลุกเสกให้น้ำกลายเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ เช่นเดียวกับน้ำในแม่น้ำคงคาในชมพูทวีป

 
ถมนคร : คุณค่าที่คู่ควร ถมนคร เครื่องถมเมืองนครศรีธรรมราช
 
SHARE