พังงา – ครูอาชีวะหญิงคนแรก ที่ได้รับรางวัล “ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ประเทศไทย” ปี 2564

1005
views

ในภาวะที่ระบบการศึกษายังอยู่ใต้สถานการณ์ระบาดของ COVID-19 ครูจำเป็นต้องปรับตัวและเผชิญกับความท้าทายรอบด้าน โดยเฉพาะช่วงที่ต้องยืดเวลาเปิดเรียน และอาจมีเด็กจำนวนไม่น้อยเผชิญกับภาวะการเรียนรู้ถดถอยและหลุดจากระบบการศึกษา

วันนี้ (20 พ.ค.2564) การระบาดของ COVID-19 ตลอดปีที่ผ่านมา นำมาสู่การบุกเบิกการจัดกระบวนการเรียนรู้อาชีวศึกษาแนวใหม่ ของ น.ส.ประทิน เลี่ยนจำรูญ ครูวิชาการตลาดและเศรษฐศาสตร์ ระดับ ปวช.วิทยาลัยเทคนิคพังงา

โดยบูรณาการการเรียนสายวิทยาศาสตร์ สายศิลป์ และสายอาชีพ ช่วยพัฒนาศักยภาพ และเอื้อให้ผู้เรียนในสายอาชีพ มีความพร้อมในตลาดแรงงาน ท่ามกลางสถานการณ์ที่เมืองท่องเที่ยวอย่าง จ.พังงา ได้รับผลกระทบจากโรคระบาด

บทบาทความเป็นครูในยุคโควิด

ผลของความทุ่มเทด้วยหัวใจความเป็นครู ทำให้ น.ส.ประทิน เลี่ยนจำรูญ เป็นครูอาชีวะหญิงคนแรก ที่ได้รับรางวัล “ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ประเทศไทย” ปี 2564 สะท้อนบทบาทครูผู้สร้างความเปลี่ยนแปลงแก่ชีวิตลูกศิษย์ และวงการการศึกษา

สถานการณ์ COVID-19 ระลอก 3 ยังนำมาสู่การเลื่อนเปิดเทอมปีนี้ เกิดผลกระทบจากปัญหาความรู้ถดถอย หรือ Learning Loss ของผู้เรียน รวมถึงความเสี่ยงหลุดจากระบบการศึกษาของกลุ่มเด็กยากจนพิเศษ ประมาณ 400,000 คน จึงเป็นโจทย์สำคัญที่ท้าทายบทบาทความเป็นครู และการจัดการศึกษาในการรับมือกับโรคระบาด

แนะวัดความพร้อมต่อการเรียนรู้

น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการอ เปิดเผยว่า นอกจากมาตรการป้องกันการแพร่ระบาด COVID-19 ที่โรงเรียนต้องดำเนินการเพื่อความปลอดภัย ช่วงเปิดภาคเรียน ควรเพิ่มการสำรวจผู้เรียนในช่วงเปิดเรียน เพื่อวัดความพร้อมต่อการเรียนรู้ ทั้งความรู้ที่ถดถอยและการเติมเต็มการเรียนรู้ที่หายไป สุขภาพกาย สุขภาพจิต ผลกระทบทางเศรษฐกิจของผู้เรียน

ที่สำคัญคือโรงเรียนต้องมีอิสรภาพในการบริหารจัดการภายในโรงเรียน เพื่อออกแบบการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นตามบริบทแต่ละพื้นที่

บทความต้นฉบับ
ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ปี 64

 
ถมนคร : คุณค่าที่คู่ควร ถมนคร เครื่องถมเมืองนครศรีธรรมราช
 
SHARE