วิถีบริสุทธิ์!! “งมกุ้ง” จับกุ้งด้วยมือเปล่า ชีวิตชาวประมงแหลมตะลุมพุก อาชีพที่สูญหายไปกว่า 10 ปี

953
views

จ.นครศรีธรรมราช – บริเวณอ่าวแหลมตะลุมพุก พื้นที่หมู่ 1 ต.แหลมตะลุมพุก อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ในช่วงระยะนี้จะได้พบเห็นเรือประมงพื้นบ้านขนาดเล็กจอดอยู่กลางอ่าวจำนวนมาก แต่ไม่มีคนอยู่บนเรือ ส่วนคนนั้นได้ลงไปอยู่ในทะเล ใช้วิธีการนั่งบนแผ่นกระดาน และไถไปตามดินเลน พร้อมทั้งจับกุ้งที่มีอยู่อย่างหนาแน่นด้วยมือเปล่า ซึ่งเป็นกุ้งที่เรียกว่า “กุ้งไข่หลัง” หรือ “กุ้งแชบ๊วย” และผลพลอยได้ในระว่างจับกุ้ง คือ การเจอหอยแครง รวมทั้งจับปลาดุกทะเลที่อาศัยอยู่ในรูดินเลน

โดยแต่ละคนนั้นสามารถสร้างรายได้หลายร้อยบาทหรือกว่า 1 พันบาทต่อคนต่อวัน ซึ่งเป็นรายได้อย่างงาม หลังจากอาชีพนี้สูญหายไปจากพื้นที่ร่วม 10 ปี จากปัญหาเครื่องมือประมงทำลายล้างที่ทำให้ทรัพยากรสัตว์น้ำลดลงอย่างมาก

ตำบลแหลมตะลุมพุก เป็นหนึ่งในหลายๆพื้นที่ที่มีปัญหาการลักลอบใช้เครื่องมือประมงผิดกฎหมาย ประเภท อวนลาก อวนรุน คราดหอย และ ลอบพับได้ หรือ ไอ้โง่ ส่งผลให้สัตว์น้ำลดจำนวนลง จนถึงสภาวะที่ กล่าวกันว่า ทะเลร้าง มีความขัดแย้งระหว่างชาวประมง ที่ใช้เครื่องมือผิดกฎหมายกับชาวประมงที่ใช้เครื่องมือถูกกฎหมายสูงมากพื้นที่หนึ่ง

ต่อมาในปี 2561 เมื่อง”เมืองคอน” จ.นครศรีธรรมราช ได้มีโครงการแก้ไขปัญหาชาวประมงแบบบูรณาการ หรือ “ปากพนังโมเดล” โดยการสนับสนุนงบประมาณของ นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผวจ.นครศรีธรรมราช ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ร่วมบูรณาการแก้ปัญหา ให้ผู้ใช้เครื่องมือประมงผิดกฎหมายปรับเปลี่ยนการใช้เครื่องมือ และ ตรวจจับกุมผู้กระทำผิด ลักลอบใช้เครื่องมือผิดกฎหมายอย่างต่อเนื่องและต่อมาได้รับงบอุดหนุนสร้างซั้งไม้ไผ่ หรือ กระโจมบ้านปลา ในพื้นที่ประมาณ 100 ไร่ ให้เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำ พื้นที่ประมงหน้าบ้าน หรือ พื้นที่อนุรักษ์

มีอาสาสมัคร ผู้ช่วยเหลือการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยการนำของ นายประยุทธ ฐานะวัฒนา กำนัน ตำบลแหลมตะลุมพุก พลิกฟื้นทะเลร้าง ให้กลับมามาอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งผลิต สัตว์ทะเล กุ้ง หอย ปู ปลา กลับฟื้นมาในเวลาอันรวดเร็ว สร้างแหล่งอาหาร แหล่งรายได้

นายพรศักดิ์ ศักดิ์ธานี ประมงจังหวัดนครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า ประมงจังหวัดได้ร่วมมือกับหลายฝ่าย ที่สำคัญคือชาวบ้านที่ร่วมมือกันสร้างกระโจมบ้านปลา เพื่อเป็นที่พักอาศัยของสัตว์น้ำ และมีวงจรชีวิตที่ดึงดูดสัตว์น้ำหลายสายพันธุ์ตามห่วงโซ่อาหารเข้ามาอาศัย และเป็นการป้องกันเครื่องมือทำลายล้างได้ระดับหนึ่ง ที่สำคัญการคือการมีส่วนของชุมชนที่เฝ้าระวังพื้นที่ วิธีการนี้เพียงแค่ปีเศษเท่านั้น วิถีชีวิตนี้จึงได้กลับคืนมาอีกครั้ง หลังจากที่การทำประมงเช่นนี้ได้ห่างหายไปจากชุมชนมากกว่า 10 ปี และด้วยวิกฤตการณ์โรคระบาดในขณะนี้ ชาวบ้านในชุมชนประมงได้มีอาชีพสร้างรายได้ให้เป็นอย่างดี

ภาพโดย – นายสุรชัย ชาวประมงตำบลแหลมตะลุกพุก

 
ถมนคร : คุณค่าที่คู่ควร ถมนคร, thomnskhon
 
SHARE