หลวงพ่อขลุก วัดเทวดาราม รูปเหมือนท่าน มหาอุตต์ คงกระพัน คนท่าศาลา บูชา

15053
views

รู้กันดีของนักเลงสมัยก่อนเรื่องความเหนียวไม่เป็นรองใคร คนโบราณนำไปลองของถึงกับต้องก้มลงกราบด้วยปฏิหารของท่าน

หลวงพ่อขลุก วัดเทวดาราม

หลวงพ่อขลุก วัดเทวดาราม พระเกจิที่มีบารมีสูง วัตถุมงคล รูปเหมือนท่าน สร้างอิทธิปาฎิหาริย์ ในเขตอำเภอท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช แล้ว ก็ คงไม่มีใครไม่รู้จักหลวงพ่อขลุก วัดเทวดาราม ซึ่งพระเครื่องของท่าน ประสบการณ์สูงมาก ในเรื่องมหาอุตต์ คงกระพัน คนท่าศาลา บูชา เกิดประสบการณ์อย่างต่อเนื่อง พระเครื่องทั้งทุกอย่างของท่าน “ไม่ทันท่านขลุกปลุกเสก” ทั้งสิ้น

นั่นหมายความว่า สร้างหลังจากหลวงพ่อขลุกท่านมรณะภาพไปแล้ว การที่ พระเครื่องที่สร้างหลัง พระเกจิที่มรณะภาพไปแล้ว มีประสบการ์ณสูงได้ แสดงว่า หลวงพ่อ องค์นั้นมี “บารมี” สูงมาก

และ พระเครื่องของหลวงพ่อขลุก ก็แสดงอภินิหาริย์ คุ้มครองภยันตรายมากมายอย่างต่อเนื่อง ทำให้ พระเครื่องของท่าน ได้รับความนิยมเป็นอันดับต้นๆของ จ.นครศรีธรรมราช

หลวงพ่อขลุก วัดเทวดาราม

ประวัติวัดเทวดาราม

วัดเทวดาราม เป็นวัดเก่าแก่ เชื่อกันว่าสร้างมาตั้แต่สมัยพระเจ้าศรีธรรมโศกราช พระองค์ทรงสร้างพระบรมธาตุ ณ ที่หาดทรายแก้ว เมืองนครศรีธรรมราช ครั้งนั้นได้มีพุทธศาสนิกชนคณะหนึ่ง บังเกิดศรัทธาปรารถนา จะเอาเงินทองข้าวของมีค่านำไปร่วมอนุโมทนาเพื่อบรรจุเข้าในองค์พระบรมธาตุ

ครั้นเมื่อได้รวบรวมสิ่งของเสร็จก็จะเกณฑ์พรรคพวกช่วยหาบหามกันมาต้องรอนแรมกันมาเป็นวลาหลายเดือน ถึงลุ่มน้ำ ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของวัดเทวดารามก็ได้พบปะผู้คนที่สัญจรผ่านมาบอกข่าวว่า “พระธาตุสร้างเสร็จแล้ว” คณะที่เดินทางล่วงหน้ามาจึงหยุดขบวนพักเพื่อรอคำสั่งของผู้บังคับบัญชา เมื่อคณะเจ้านายเดินทางมาถึงจึงได้ปรึกษากันว่า จะคิดการณ์อันใดต่อเพราะเดินมาไกล

วัดเทวดาราม (Wat Tewadaram) ตำบลท่าขึ้น อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช

ครั้นจะหาบหามสิ่งของกลับก็อ่อนล้าหมดเรี่ยวแรงท่านผู้เป็นผู้นำของกลุ่มชนจึงตัดสืนใจเด็ดขาด “เห็นสมควรให้สร้างวัดขึ้น”จึงชวนกันหาสถานที่ที่เหมาะสมเพื่อสร้างวัด ก็ได้พบเนินทรายราบเรียบ

ทอแสงระยิบระยับมีประกายที่สวยสดใสจึงพร้อมใจกันสร้างวัดขึ้น ณ ที่นั้นได้ออกข่าวป่าวประกาศให้พรรคพวกทั้งหมดขนสิ่งของที่นำมาทั้งหมดมาเทกองรวมกันณ.จุดนีเป็นที่เรียกตามตำนานสืบมาว่า “วัดเท” สวนรอ่งน้ำที่ขบวนลูกหาบตั้งจุดรอเจ้านายเดินทางตามมาสมทบภาษาปักษ์ใต้ท้องถิ่นคำว่า”ถ้าหมายถึงการรอคอย”

ลำคลองแห่งนี้จึงมีชิ่อ “ว่าคลองถ้านาย”ปัจจุบันออกเสียงคลองท่านาย เมื่อราวปีพ.ศ.2465ได้มีพ่อเมืองท่านหนึ่ง(เทียบเท่าตำแหน่งกำนัน)ในปัจจุบันชื่อขุนจำนงค์ เนาวกิจท่านเป็นผู้ให้ความอนุเคราะห์ต่อวัดเทจึงได้ต่อท้าย คำว่าวัดเทเป็น”วัดเทวดาราม”สืบมา

ขอขอบคุณข้อมูลจาก คุณพิเชฐ สมจิต( จิ้ง ) / พระยา ฐิตธมโม 23/06/14

 
ถมนคร : คุณค่าที่คู่ควร ถมนคร เครื่องถมเมืองนครศรีธรรมราช
 
SHARE