เก๋งพระเจ้าตาก (เก๋งจีนวัดประดู่พัฒนาราม) จ.นครศรีธรรมราช

2713
views

เก๋งจีนแห่งนี้ตั้งอยู่ที่วัดประดู่พัฒนารามจังหวัดนครศรีธรรมราช เดิมเรียกว่า “ศาลก๋งตาก” ในปัจจุบันได้ทำป้ายชื่อเก๋งว่า “เก๋งพระเจ้าตาก”

เก๋งจีนวัดประดู่ หรือ เก๋งพระเจ้าตาก โบราณสถานแห่งนี้ ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดประดู่พัฒนาราม จ.นครศรีธรรมราช สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2358 ตั้งอยู่ริมถนนราชดําเนินใกล้กับ สนามกีฬาจังหวัด ก่อสร้างในสมัย ต้นรัตนโกสินทร์ โดยเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อยกลาง)เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นบุตรเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) ผู้เป็นโอรสของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กับเจ้าจอมมารดาปราง ในช่วงปลายรัชกาลที่ 3 ท่านได้บรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชพระอัยกาและพระอัฐิเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) ท่านบิดาไว้ในบัวทรงเจดีย์องค์เดียวกัน ดูแลโดยกรมศิลปากร และสายสกุล ณ นคร สายสกุลเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช มาแต่โบราณ

“เก๋งจีนพระเจ้าตาก” หรือศาลพระเจ้าตากสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2358 ตัวอาคารตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของวัดประดู่พัฒนาราม ติดกับถนนราชดำเนิน ถูกสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 23-24 ถูกขึ้นทะเบียนไว้เป็นโบราณสถานแห่งชาติ เมื่อ 17 กันยายน 2479 ตัวอาคารเป็นศิลปะแบบจีน ทรงอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 6.40 เมตร ยาว 10.30 เมตร หันหน้าไปทางทิศใต้ ผนังก่ออิฐถือปูนหนา 45 ซม. ผนังทึบ 3 ด้าน ด้านหน้ามีการวางผังรูปแบบในลักษณะท้องพระโรงเข้าเฝ้าจักรพรรดิ หรือฮ่องเต้ ตัวอาคารบริเวณทางเข้าโถงประกอบเครื่องสูงสำหรับจักรพรรดิ หรือฮ่องเต้ อย่างจีนประดับอย่างครบถ้วน มีศิลาบันทึกความสำคัญของสถานที่ว่าเป็นเก๋งจีนบรรจุพระบรมอัฐิสมเด็จพระเจ้าตากสิน โดยไม่ลืมที่จะบันทึกไว้ว่า เป็นประวัติศาสตร์บอกเล่า

ทางเข้าไปถึงโถงด้านหน้าประกอบด้วยแผ่นศิลา 3 แผ่น ตามคติถูกให้ความหมายแผ่นแรกคือ ตำแหน่งการกราบไหว้ฟ้าดิน แผ่นที่สองคือ จุดกราบไหว้เทพเทวา และแผ่นที่สามคือ จุดกราบไหว้ภูมิเจ้าที่ ด้านหลังประตูแบบจีนคือ บัวประดิษฐานพระบรมอัฐิ แต่ทว่า ประวัติศาสตร์บอกเล่าในท้องถิ่นกลับสวนทางกับประวัติศาสตร์กระแสหลัก แต่สัญลักษณ์ที่ปรากฏอยู่บน “บัว” หรือสถูปนี้คือ “ครุฑพ่าห์” ทั้งสี่ทิศ

ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าสิ่งนี้ เป็นด้วยที่ชาติกำเนิดของสมเด็จพระเจ้าตากสิน มีเชื้อสายจีนจากฝ่ายพระราชบิดา การให้ความหมายของกษัตริย์ยังคงถือเป็น “โอรสแห่งสวรรค์” เครื่องประกอบสถาปัตยกรรมแห่งนี้ จึงเป็นอย่างฮ่องเต้ หรือจักรพรรดิทั้งหมด บันทึกสำคัญของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า สิ่งของเครื่องสูงเหล่านี้ถูกสั่งมาจากเมืองจีน โดยเจ้าพระยานคร (น้อยกลาง) เป็นผู้ดำเนินการสร้าง โดยบางช่วงบางตอนได้ระบุในบันทึกดังนี้ ราสัญลักษณ์เฉพาะของเจ้าเมืองชั้นสูง หรือกษัตริย์เท่านั้น

“เจ้าพระยานครน้อยกลาง เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นบุตรเจ้าพระยานครน้อยได้สั่งวัสดุทุกชิ้นส่วนจากเมืองจีน นำมาประกอบเป็นเก๋งจีนที่วัดประดู่พัฒนาราม ซึ่งเป็นวัดเล็กๆ อยู่ในป่านอกเขตตัวเมือง เพื่อแอบซ่อนไว้ บานประตูเก๋งแกะสลักรูปสัญลักษณ์มงคลของจักรพรรดิจีน เป็นนกกระเรียนขาวหมวกแดง ไก่ฟ้าทองคำ ดอกโบตั๋น ลูกท้อ สวยงามมาก เหนือบานประตูเก๋ง แกะสลักเป็นรูปมังกรสองพ่อลูก ด้านหน้าเก๋งลงบันไดมาจะมีแท่นไหว้ 3 จุด เป็นระยะเข้าเฝ้าแบบกษัตริย์”

เพื่อให้ประชาชนเข้าถวายสักการะ “บัว” หรือที่เก็บพระบรมอัฐิ ซึ่งถูกสร้างไว้อย่างแบบกษัตริย์นครศรีธรรมราชตามธรรมเนียมจีน คือ มีเครื่องสูงสำหรับพระมหากษัตริย์ ประกอบด้วย มังกร นกกระเรียน และครุฑ ที่รักษาบัวเก็บพระบรมอัฐิ นอกจากนั้น ยังมีดอกบัว ดอกโบตั๋น และดอกพุดตานเป็นเครื่องสูงประกอบอย่างสวยงาม

เก๋งแห่งนี้ที่เป็นสถานที่ประวัติศาสตร์บอกเล่าของชาวนครศรีธรรมราช ที่สืบทอดมากว่า 200 ปี โดยปี 2565 ครบ 207 ปีวันปลงพระศพ สำหรับเก๋งพระเจ้าตาก (เชื่อว่าเป็นสถานที่บรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช) ดูแลโดยกรมศิลปากร และสายสกุล ณ นคร สายสกุลเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช มาแต่โบราณ

เพื่อให้ประชาชนเข้าถวายสักการะ “บัว” หรือที่เก็บพระบรมอัฐิ ซึ่งถูกสร้างไว้อย่างแบบกษัตริย์ ตามธรรมเนียมจีน คือ มีเครื่องสูงสำหรับพระมหากษัตริย์ ประกอบด้วย มังกร นกกระเรียน และครุฑ ที่รักษาบัวเก็บพระบรมอัฐิ นอกจากนั้น ยังมีดอกบัว ดอกโบตั๋น และดอกพุดตานเป็นเครื่องสูงประกอบอย่างสวยงาม

ขอบคุณข้อมูล / ภาพ – wikipedia.org กฤษณะ ทิวัตถ์สิริกุล, ภูมิ จิระเดชวงศ์

 
ถมนคร : คุณค่าที่คู่ควร ถมนคร, thomnskhon
 
SHARE