พราหมณ์สุเมธ พรหมชาติ พราหมณ์ประจำเมืองนครศรีธรรมราช

2347
views
พราหมณ์สุเมธ พรหมชาติ

ประวัติ พราหมณ์สุเมธ พรหมชาติ สืบเชื่อสายรุ่นที่ ๕ ของพราหมณ์ในตระกูลพรหมชาติ พราหมณ์แห่งเมืองนครศรีธรรมราช

พราหมณ์สุเมธ พรหมชาติ

พราหมณ์สุเมธ พรหมชาติ เจ้าพิธีพราหมณ์คนสำคัญของ จ.นครศรีธรรมราช เป็นพราหมณ์รุ่นที่ ๕ ของพราหมณ์ในตระกูลพรหมชาติ ซึ่งเชื้อสายของพราหมณ์สุเมธ พรหมชาตินั้น สืบเชื้อสายมาจาก “ ขุนพรหมชาติราชครู ” พราหมณ์ในราชสำนักสมัยรัชกาลที่ ๔ ซึ่งขุนพรหมชาติราชครู แต่เดิมแล้วเป็นพราหมณ์เมืองนครศรีธรรมราช ที่สืบเชื้อสายมาจาก “ ขุนพรหมสุทธิชาติ ” พราหมณ์ประจำลูกขุนฝ่ายขวา ในรัชสมัย รัชกาลที่ ๒ มีตำแหน่งเป็น “ รองหัวหน้า ” ของคณะพราหมณ์เมือนครศรีธรรมราช ซึ่งถ้านับไล่เรียงกันตามบรรพบุรุษพราหมณ์ในตระกูลพรหมชาติแล้ว พราหมณ์สุเมธ พรหมชาติ อยู่ในลำดับรุ่นที่ ๕ ดังจะไล่เรียงดังต่อไปนี้

๑.ขุนพรหมชาติราชครู พราหมณ์เมืองนคร ที่ไปรับใช้ในราชสำนัก ในรัชสมัยของ รัชกาลที่ ๔
๒.ขุนพรหมชฎาพรหมชาติ เป็นพราหมณ์ในราชสำนักของรัชกาลที่ ๕ และรัชกาลที่ ๖
๓.ขุนวิษณุเทเวศน์ เป็นพราหมณ์ในราชสำนักของ รัชกาลที่ ๗
๔.พราหมณ์แจ้ง พรหมชาติ เป็นพราหมณ์ในราชสำนักของ รัชกาลที่ ๙
๕.พราหมณ์สุเมธ พรหมชาติ พราหมณ์ ผู้ดำรงพราหมณ์ของตระกูลพรหมชาติ ท่านปัจจุบัน

พราหมณ์สุเมธ พรหมชาติ เป็นพราหมณ์ประจำเมืองนครศรีธรรมราช ที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษที่เป็นพราหมณ์ ผ่านการบวชพราหมณ์กันอย่างไม่ขาดสายซึ่งพราหมณ์สุเมธ พรหมชาติเอง ได้ติดตามรับใช้บิดา และเล่าเรียนในศาสตร์ทางพราหมณ์ เมื่อครั้งที่พราหมณ์แจ้ง พรหมชาติ ยังเป็นพราหมณ์อยู่ประจำในเทวสถานโบสถ์พราหมณ์จนกระทั่ง พราหมณ์แจ้ง พรหมชาติ ได้ลาออกจากการรับใช้เบื้องพระยุคลบาท กลับมาพักผ่อนวัยเกษียณที่บ้านเกิด อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช

พราหมณ์สุเมธ พรหมชาติ จึงได้ติดตามบิดากลับมาด้วย และได้ปฎิบัติหน้าที่ เป็นเจ้าพิธีบวงสรวงแทนพราหมณ์แจ้ง ผู้เป็นบิดาที่แก่ชรา จนกระทั่งพราหมณ์แจ้ง พรหมชาติ ได้ถึงแก่กรรมลง พราหมณ์สุเมธ พรหมชาติ จึงทำหน้าที่พราหมณ์อย่างเต็มตัว และได้รับการยอมรับจากทางราชการ และในทางปวงพราหมณ์ว่า เป็นพราหมณ์ที่สืบเชื้อสายพราหมณ์อย่างถูกต้องที่ยังคงเหลืออยู่ของเมืองนครศรีธรรมราช ทางหน่วยงานต่างๆ รวมถึงผู้ศรัทธาในทวยเทพ มักจะเชิญพราหมณ์สุเมธ พรหมชาติ ไปเป็นเจ้าพิธีบวงสรวงในพิธีกรรมสำคัญต่างๆ อยู่เสมอ

ข้อมูลต้นฉบับ

 
ถมนคร : คุณค่าที่คู่ควร ถมนคร, thomnskhon
 
SHARE