มาฆะ มานะ มานครฯ ๒๕๖๖ “มาฆบูชา แห่ผ้าขึ้นธาตุ” นครศรีธรรมราช วันที่ ๒-๖ มีนาคม ๒๕๖๖

1585
views

วันมาฆบูชา วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ หรือ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เตือน ๔ หากเป็นปีอธิกมาส วันมาฆบูชา เป็นวันที่พระสาวกจำนวน ๑,๒๕๐ รูปมาประชุมกันฟังพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ อันเป็นหลักคำสอนสำคัญ ของพระพุทธศาสนา ในวันนี้ชาวพุทธจะไปทำบุญ ฟังธรรม และเวียนเทียนที่วัด

“มาฆบูชา” ย่อมาจาก “มาฆปูรณมีบูชา” หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะตามปฏิทินอินเดีย หรือเดือน ๓ ตามปฏิทินจันทรคติของไทย (ตกช่วงเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม) ถ้าปีใดมีเดือนอธิกมาส คือมีเดือน ๘ สองหน (ปีอธิกมาส) ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน ๓ หลัง (วันเพ็ญเดือน (๔)

วันมาฆบูชาได้รับการยกย่องเป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธ เนื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ ๒,๕๐๐ กว่าปีก่อน คือ พระโคตมพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ท่ามกลางที่ประชุมมหาสังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ในพระพุทธศาสนา คัมภีร์ปปัญจสูทนี ระบุว่าครั้งนั้นมีเหตุการณ์เกิดขึ้นพร้อมกัน ๔ ประการ คือ

๑. พระภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป ได้มาประชุมพร้อมกันยังวัดเวฬุวันโดยมิได้นัดหมาย,
๒. พระภิกษุทั้งหมดนั้นเป็น “เอหิภิกขุอุปสัมปทา” หรือผู้ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรง,
๓. พระภิกษุทั้งหมดนั้นล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ทรงอภิญญา ๖, และ
๔.​ วันดังกล่าวตรงกับวันเพ็ญเดือน ๓ ดังนั้น จึงเรียกวันนี้อีกอย่างหนึ่งว่า “วันจาตุรงคสันนิบาต” หรือ วันที่มีการประชุมพร้อมด้วยองค์ ๔

สำหรับปีนี้ ปีขาล “วันมาฆบูชา”ตรงกับวันจันทร์ที่ ๖ มีนาคม ๒๕๖๖ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสี่ (๔) จ.นครศรีธรรมราช จัดกิจกรรม ‘งานมาฆบูชา แห่ผ้าขึ้นธาตุ’ ประจำปี ๒๕๖๖ ระหว่างวันที่ ๒-๖ มีนาคม ๒๕๖๖

วันมาฆบูชาของไทย รัฐบาลในปี ๒๕๔๙ กำหนดให้เป็นวันกตัญญูแห่งชาติ เพื่อรณรงค์ให้สังคมไทยเดินออกจากลัทธิวาเลนไทน์ของเดือนกุมภาพันธ์ให้ไกลที่สุด หลายหน่วยงานจึงพยายามรณรงค์ให้วันมาฆบูชาเป็นวันแห่งความรัก (อันบริสุทธิ์) แทน

 
ถมนคร : คุณค่าที่คู่ควร ถมนคร, thomnskhon
 
SHARE