เกาะนางโดย เกาะแห่งอัครมเหสี โดย ภูมิ จิระเดชวงศ์

1005
views
เกาะนางโดย เกาะแห่งอัครมเหสี

เกาะนาง(โดย) จากเกาะนาง ไปเป็น เกาะนาง_โดย ความผิดพลาดในการเว้นวรรคสู่การเปลี่ยนแปลงในการเรียกขาน

เกาะนางโดย อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช เกาะทางประวัติศาสตร์ในการตั้งฐานทัพเรือเพื่อเข้าช่วยเหลือ พระเจ้าศรีธรรมโศกราชพระเจ้าพงษาสุระ โดยพระอัครมเหสี จากการจับกุมของ “ พระเจ้ากฤตนคร ” และตำนานสถานที่สิ้นพระชนม์ ของพระอัครมเหสี โดย ภูมิ จิระเดชวงศ์

เกาะนางโดย ตั้งอยู่ที่ ต.คลองน้อย อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช เป็นแหล่งนิเวศน์อนุรักษ์ทางธรรมชาติ ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ของเมืองนครศรีธรรมราช ที่ในอดีต เกาะนางโดยแห่งนี้ เคยเป็นเกาะกลางทะเล และเป็นฐานทัพเรือของเมืองนครศรีธรรมราชเมื่อครั้งอดีตกาล

ก่อนหน้าที่เกาะนางโดย จะมีสภาพเป็นภูเขาหินขนาดเตี้ยในปัจจุบัน จากบันทึกในพงศาวดารเมืองนครศรีธรรมราช และภาพวาดในแผนที่เมืองนครศรีธรรมราชยุคโบราณ ได้วาดรูป “ เกาะนางโดย ” เป็นเกาะที่โดดเดี่ยวอยู่กลางทะเล ก่อนที่ในเวลาต่อมา ทะเลรอบเกาะนางโดย จะตื้นเขินลงจนกลายเป็นพื้นที่ป่าชายเลน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์

การศึกษาด้านประวัติศาสตร์พบว่า เกาะนางโดยมีประวัติความเป็นมายาวนานราว พ.ศ. ๑๗๐๐ มีความเกี่ยวข้องกับตำนานเมืองนครศรีธรรมราช และตำนานพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช เพราะเชื่อว่าเกาะนางโดย มีความสืบเนืองจากข้อความทีเขียนติดกันทำให้ผู้อ่านเอกสารสำคัญนี้นำเอาคำมาใช้เรียกเกาะแห่งหนึ่งทีอยู่หน้าเมืองนครศรีธรรมราชหรือศรีธรรมราชนคร หรือศรีธรรมราชมหานคร ตามชื่อทีเรียกกันตามตำนานทั้งสอง ข้อความในตำนานมีว่า “นางอัครมเหสีก็ตามพระยาไปถึงเกาะแห่งหนึ่ง อันชือว่าเกาะนางโดยครั้งนั้นชวาก็ให้เจ้าเมืองผูกส่วยไข่เป็ดแก่ชวา… “คำว่าเกาะนางโดย” เขียนติดกัน นอกจากจะเว้นวรรคอ่านว่า “เกาะแห่งหนึ่งอันชื่อว่าเกาะนาง โดยครั้งนั้นชวาก็ให้เจ้าเมือง…” หากเว้นวรรคก็จะรู้ว่าชื่อดังกล่าวชื่อ “เกาะนาง” แสดงว่าเกาะทีอยู่หน้าเมืองนครศรีธรรมราชนี้ชื่อ เกาะนาง ส่วนจะมีมานานก่อนทีพระอัครมเหสีจะเสด็จไปหรือไม่ยังไม่มีหลักฐานใด ๆ กล่าวไว้ หรืออาจจะเรียกเกาะนางเพราะมีพระนางทีเกี่ยวกับเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชเสด็จไปประทับ หรือว่ามีสตรีทีมีความสวยงามไปอยู่ทีเกาะนี้มาก่อน

แต่ทีแน่นอนคือเมือปี พ.ศ.๑๗๐๐ เศษ นั้นมีการเกิดศึกสงครามระหว่างศรีธรรมราชนครกับชวา หรืออินโดนีเซียในปัจจุบัน (หรือดินแดนทีเรียกว่าอาเจ๊ะ) ในตำนานเมืองนครศรีธรรมราชบางฉบับมีข้อความว่าพระชายาเสด็จไปทีเกาะนางโดยและไม่มีคำว่า “ครั้ง” ตามหลัง (คงจะเป็นฉบับคัดลอกทีอาจจะไม่ตรงต้นฉบับเสียทีเดียว)การสงครามในครั้งนั้นรบกันเป็นเวลานานในพื้นทีทีเป็นจังหวัดนครศรีธรรมราชในปัจจุบัน บริเวณปากอ่าวนคร อ่าวปากพนัง คูขวาง (ถนนคูขวาง) และบนแผ่นดินทีเป็นตัวเมืองนครศรีธรรมราชในปัจจุบัน และกินอาณาเขตไปถึงเขามหาชัย สถานทีเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราชในปัจจุบัน

การรบในครั้งนั้นไม่แพ้ชนะกันจึงมีการใช้กลอุบายโดยกองทัพชวาได้แต่งสาสน์ถึงเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชในขณะนั้นคือ พระยาศรีธรรมโศกราช (บางแห่งใช้พระเจ้าศรีธรรมโศกราช) แห่งปทุมวงศ์องค์ใดองค์หนึ่งความว่าจะขอเป็นไมตรี โดยจะยกพระธิดาให้ขอให้ออกไปรับทีปากอ่าวนคร เมื่อออกไปรับพระธิดาเจ้าชวา พระเจ้าศรีธรรมโศกราชก็ถูกจับพระอัครมเหสีหรือพระชายาทรงหาหนทางเพื่อช่วยพระองค์ด้วยการเจรจาต่อรอง ในครั้งนั้นพระนางเสด็จไปโดยทางเรือไปประทับทีเกาะแห่งหนึ่งซึงอยู่หน้าเมืองนครศรีธรรมราช (ตามตำนานบอกว่าเกาะนาง) ซึงอยู่ในหมู่ ตำบลคลองน้อย อำเภอปากพนัง ในปัจจุบัน เกาะนี้มีเกาะเดียวทีอยู่หน้าเมืองนครศรีธรรมราช และอยู่ใกล้กับปากอ่าวนคร และคงไม่ห่างไกลจากกองทัพเรือของชวา ในทีสุดการเจรจาสำเร็จโดยชวาขอให้ศรีธรรมราชนครส่งส่วยไข่เป็ดปีละ ๕ ล้านฟอง* เป็นเวลา ๑๐ ปี พระเจ้าศรีธรรมโศกราชจึงได้รับการปลดปล่อยมาครองเมือง

หลังจากนี้ไม่นานพระเจ้าศรีธรรามโศกราช องค์นี้สินพระชนม์พระอนุชาครองราชย์ต่อและเกิดโรคห่า (ในตำนานเรียกไข้ยมบน) ระบาดทั่วไป พระอนุชาพารีพลประชาชนส่วนหนึ่งหนีโรคห่าไปทีลานสกา (ปัจจุบันมีการกล่าวถึงเรืองวังโบราณลานสกา) ส่วนพระอัครมเหสีหรือพระชายาก็เสด็จหนีโรคห่าไปอยู่ทีเกาะนางทีเคยประทับเมืองครั้งทรงเจรจาต่อรองกับกองทัพชวาแต่พระนางก็ต้องสินพระชนม์ด้วยโรคห่าพร้อมด้วยพระทารกและข้าราชบริพาร เกาะนางแห่งนี้จึงมีความสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์โบราณคดี เมืองนครศรีธรรมราช

(อ้างอิง รายงานการวิจัย “การศึกษาเกาะนางโดยให้เป็นแหล่งท่องเทียวเชิงนิเวศและวัฒนธรรม” คณะผู้วิจัย รศ.ดร.สืบพงศ์ ธรรมชาติ ผู้วิจัย ชลาพันธุ์ จันทร์ขุน สมใจ อู่ทอง ผศ.ยุพดี ธรรมชาติ ผู้ช่วยวิจัย )

จากเรื่องราวในพงศาวดารเมืองนครศรีธรรมราช ได้ระบุว่า “ เกาะนางโดย ” แห่งนี้ เป็นฐานทัพเรือที่ “ พระอัครมเหสีของพระเจ้าพงษาสุระ ” เสด็จมาช่วยพระสวามี จากการจับกุมของ “ พระเจ้ากฤตนคร ” พระราชาแห่งอาณาจักรสิงหัสส่าหรี ซึ่งเหตุการณ์นั้นได้เกิดขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ตอนปลาย เป็นช่วงที่อาณาจักรศรีวิชัยถึงคราวอ่อนแอถึงขีดสุด จนต้องตกเป็นเมืองขึ้นของชวายาว นานถึง ๑๕ ปี ก่อนที่จะได้ขุนศึกพื้นเมืองที่ชื่อว่า “ พังพะการ ” มาช่วยกอบกู้บ้านเมืองกลับคืนเป็นอิสระมาได้

เกาะนางโดย กลายเป็นเกาะร้างกลางทะเลมายาวนานถึง ๘๐๐ ปี ปราศ จากผู้มาพำนักอาศัย จนกระทั่งยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ จึงมีผู้คนเข้าไปจับจองพื้นที่สำหรับอาศัยเป็นชุมชน จึงทำให้เกาะนางโดย ได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ และเป็นสถานที่เหมาะแก่การสักการะ แสวงบุญที่สำคัญอีกแห่งของเมืองนคร

สำหรับเกาะนางโดย และ วัดเกาะนางโดยแห่งนี้ มีสิ่งสำคัญประจำดังนี้คือ

๑. พระพุทธธรรมธรชินราช บรมศาสดา ศรีนครมงคล พระพุทธรูปประธานของวัดเกาะนางโดย ที่ได้รับพระราชทานจากองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๒ โดย พระบาทสมเด็จพระ

เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ทรงมีพระราชประสงค์ ให้เชิญพระพุทธธรรมธรชินราชฯ องค์นี้มาประดิษฐานที่วัดเกาะนางโดย เป็นการเฉพาะ เพื่อเป็นขวัญกำลังใจ แก่ราษฎรชาวคลองน้อย ตลอดจนชาวปากพนังทั้งปวง

๒. ศาลเจ้าแม่เกาะนางโดย ตั้งอยู่บนเกาะนางโดย ศาลนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อระลึกถึง พระอัครมเหสีของพระเจ้าพงษาสุระ ที่ได้ทรงมาประทับยังเกาะนางโดยแห่งนี้ เพื่อช่วยพระสวามีให้รอดพ้นจากพวกชวา และได้เป็นสถานที่สิ้นพระชนม์ของพระนาง จึงมีการสร้างศาลบูชาขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๖ เจ้าแม่เกาะนางโดย เป็นที่นับถือของชาวบ้านละแวกเกาะนางโดยอย่างมาก ใน วันแรม ๙ ค่ำ เดือน ๑ ของทุกๆ ปี จะเป็นวันกำหนดเฉลิมฉลองเจ้าแม่

๓. มณฑปพระพุทธบาทบนยอดเกาะนางโดย พระพุทธบาทบนยอดเกาะนางโดย ได้ถูกสร้างขึ้นโดย อ.น้อม อุปรมัย อดีต สส. ของจังหวัดนครศรีธรรม ราช ที่ได้นำเอารอยพระพุทธบาทจากเขาขุนพนม มาประดิษฐานยังยอดเกาะนางโดย เพื่อเป็นที่สักการะของชาวบ้าน และเป็นสิริมงคลแก่ผู้คนทั้งหลายในแถบนั้น

นอกจากนี้ เกาะนางโดย ยังมีถ้ำต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากหินปูนตามธรรมชาติ ได้แก่ ถ้ำน้ำ ถ้ำลอด ถ้ำพระ และ ถ้ำถ้วย โดยเฉพาะถ้ำถ้วย เป็นถ้ำที่มีการพบโบราณวัตถุ เป็นเครื่องถ้วยโบราณ จำนวนมาก จนกระทั่งปากถ้ำปิดลง เนื่องจากการทับถมของพื้นดิน ทำให้ไม่สามารถเข้าไปสำรวจถ้ำถ้วยได้อีกต่อไป
เกาะนางโดย เกาะสำคัญทางประวัติศาสตร์ของเมืองนครศรีธรรมราช ที่ยังมั่นคง เป็นพยานหลักฐานทางธรรมชาติที่ยังคงอยู่ เพื่อบ่งบอกถึงประวัติ ศาสตร์ของบ้านเมืองให้แก่อนุชนรุ่นหลัง ถึงวีรกรรม ของพระอัครมเหสีผู้เป็นแม่เมือง ผู้ปกป้องบ้านเมืองจนถึงวาระสุดท้ายของพระชนม์ชีพ

*ไข่เป็ดนั้นในยุคดังกล่าวถือเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญเป็นอย่างมากในการสร้างกองทัพเรือ เนื่องจากต้องใช้ไข่ขาวของไข่เป็ดมาทาใบเรือซึ่งจะทำให้มีความทนทานมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน

ที่มา : facebook.com/jiradejwong/posts/1084820455332018

 
ถมนคร : คุณค่าที่คู่ควร ถมนคร, thomnskhon
 
SHARE