จังหวัดนครศรีธรรมราช Nakhon Si Thammarat (มักเรียกสั้น ๆ ว่า นคร) เป็นจังหวัดในประเทศไทย ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของภาคใต้ (รองจากสุราษฎร์ธานี) ในอดีตมีชื่อเรียกดินแดนแถบนี้หลายชื่อ “นครศรีธรรมราช” มาจากพระนามของกษัตริย์ผู้ครองนครในอดีต ทรงมีพระนามว่า “พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช” (ราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช) มีความหมายว่า “นครอันเป็นสง่าแห่งพระราชาผู้ทรงธรรม” หรือ “เมืองแห่งพุทธธรรมของพระราชาผู้ยิ่งใหญ่”
“เมืองนครศรีธรรมราช” เป็นเมืองเก่าแก่ในแหลมมาลายูมีชื่อในศิลาจารึกว่า”เมืองตามพรลิงค์” แผ่ขยายอาณาเขตไปปกครองหัวเมืองมลลายูทั้งหมด บางครั้งเสื่อมอำนาจและเคยตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรศรีวิชัย ในสมัยที่เรืองอำนาจ ได้แบ่งการปกครองออกเป็น 12 หัวเมือง เมืองนครศรีธรรมราช มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานเกือบ 2,000 ปี มีความเจริญรุ่งเรืองทางวัฒนธรรม โดยประมาณ พ.ศ.1000-1800 มีการก่อสร้างศาสนสถาน
… “สมัยศรีวิชัย” ในปี พ.ศ.1320 ได้มีการสร้าง”วัดภูเขาหลัก” ( ตั้งอยู่ที่บ้านจอมภักดี ต.ทุ่งสัง อ.ทุ่งใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช ) โดย”ชาวลังกาสิงหล” คือได้นำเอาทรัพย์สินที่บรรทุกเรือเพื่อนำไปสมทบสร้างพระบรมธาตุที่เมือง นครศรีธรรมราช ได้ล่องเรือมาทางแม่น้ำตาปี จนถึงบริเวณเทือกภูเขาหลัก ได้ทราบถึงเรื่องราวของพระบรมธาตุนั้นสร้างเสร็จแล้ว จึงได้ตกลงกันว่าไม่ไปต่อแล้ว จึงนำสมบัติของมีค่าเหล่านี้ฝังไว้แล้วได้สร้างวัดขึ้น เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาและสร้างเจดีย์ศรีวิชัย เป็นหลักฐานตามลัทธิมหายาน
มาในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมื่อปี พ.ศ.2257 ได้ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์ โดย “พ่อท่านอุปัชฌาย์เพชรด้วงเฒ่า” อดีตเจ้าอาวาส ซึ่งท่านมีความรู้ความสามารถในเชิงกวี และมีฝีมือในด้านก่อสร้าง มาในปี พ.ศ.2430
“หลวงพ่อนาค” (พระครูนนททสิกขกิจ)มารับตำแหน่งเจ้าอาวาส ได้ทำนุบำรุงปฏิสังขรณ์ ท่านได้กล่าวทิ้งไว้” ของทุกอย่างจะต้องรักษาไว้ไม่ให้เสียทรง เพื่ออนุชนรุ่นหลังที่ยังไม่รู้ จะได้ดูได้เห็นเพื่อเป็นอนุสรณ์” ต่อมาปี พ.ศ.2481
หลวงพ่อแดง อิสสโร วัดภูเขาหลัก “พระธรรมิสรานุวัตร” (ศิษย์น้องหลวงพ่อคล้าย วาจาสิทธิ์ วัดสวนขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช)
“หลวงพ่อแดง” (พระครูธรรมิสรานุวัตร)เข้ามารับตำแหน่งเจ้าอาวาส ก็ได้สืบทอดเจตนาบูรณะปฏิสังขรณ์ ได้จัดสร้างศาลาโรงธรรม กุฏิ หอสวดมนต์ และท้ายสุดในปลายชีวิตของท่านได้ก่อสร้างอุโบสถ และท่านยังเป็นประธานในการสร้างวัดต่างๆ ใว้หลายแห่งเช่น วัดควนสระบัว สร้างโรงเรียนวัดควนสระบัวให้ 1 หลัง วัดธรรมิการาม ที่บ้านวังหิน เป็นต้น
เจดีย์ศรีวิชัย ภาพ นายอมรเทพ เอี่ยมวงศ์
มาปลายปีที่ท่านปกครองวัดได้เกิดภัยธรรมชาติเกิดขึ้น 2 ครั้ง จึงทำให้โบสถ์หลังเก่าที่สร้างมีอายุนับร้อยปีไม่สามารถใช้กิจทางสงฆ์ได้อีก แต่ก็พอจะซ่อมแซมได้ จึงรื้อโบสถ์และสร้างทดแทนแต่ไม่ทันเสร็จท่านได้มรณภาพเสียก่อน
ต่อมาหลวงพ่อผดุง”พระอุดมอดุลธรรมาภรณ์ มารับตำแหน่งเจ้าอาวาส ในปี พ.ศ.2516 ได้พัฒนาวัดเจริญขึ้นตามลำดับ ท่านได้มรณภาพในปี พ.ศ.2545
“พระเจดีย์ศรีวิชัย” ก่อสร้างด้วยอิฐโบราณแผ่นใหญ่ เสริมด้วยปูนปั้นตั้งอยู่ทางทิศใต้ ฐานมีลักษณะเหลี่ยมจตุรมุขยอดแบ่งออกเป็น3ชั้นลดหลั่น มี จตุรมุขทุกๆชั้น ชั้นยอดพระเจดีย์เหมือนองค์ระฆัง ลักษณะรูปสี่เหลี่ยมเป็นที่ตั้งของฐานเจดีย์ ฐานกว้าง 8 เมตร ยาว 8 เมตร สูง 12 เมตร มีประดับลายด้วยถ้วยลายครามประดับเป็นลวดลาย ได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ยังคงรูปแบบศิลปะศรีวิชัย
ชาวลังกาสิงหลสร้างวัดภูเขาหลักขึ้น และได้สร้าง”พระแม่ทานจอมภักดี” พระพระพุทธรูปปางมารวิชัย ปูนปั้นลงรักปิดทอง มีขนาดหน้าตักกว้าง 5 ศอก สูง 6 ศอก 22 นิ้ว เป็นพระคู่วัด และคู่เมืองจังหวัดนครศรีธรรมราช และพระโมคคัลลา พระสารีบุตร ทั้ง2องค์ มีหน้าตักกว้าง 35 นิ้ว สูง 49 นิ้ว ปูนปั้น ลงรักปิดทอง พระเบญจภาคีทั้ง5 พระบริวารที่อยู่รอบพระประธาน หน้าตัก 20 นิ้วสูง 35 นิ้ว ปูนปั้นลงรักปิดทอง
เทือกเขาภูเขาหลักที่ชาวลังกาสิงหลสร้างวัดและนำชื่อภูเขาหลักมาเป็นชื่อและสร้างเจดีย์ศรีวิชัย
พระแม่ทานจอมภักดี และเจดีย์ศรีวิชัย ทั้งสองนี้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง และยังมีพระครูธรรมิสรานุวัตร (หลวงพ่อแดง อิสสโร) อดีตเจ้าอาวาส ชาวบ้านและพุทธศาสนิกชนมักจะมากราบไหว้ขอพรเสมอ และก็มักจะได้สมปรารถนา ตามที่ขอไว้ทุกประการทุกรายไป สาธุๆๆ
ข้อมูล : พรหมพิริยะ จันทร์เพ็ญ
สายลุยเตรียมพร้อมก่อนไป “เดินป่า” อ่านจบรู้เรื่อง