สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ จัดโครงการ สทบ. สัญจร 13 สาขา แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกองทุนหมู่บ้าน สถาบันการเงินชุมชน โครงการประชารัฐ โครงการต้นแบบ BCG คณะกรรมการสมาชิกฯ ใช้โมเดลเศรษฐกิจ BCG พัฒนาเศรษฐกิจต่อยอดจุดแข็งของประเทศ ยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมภายใต้เศรษฐกิจ BCG ให้สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ได้มีการขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาประเทศ ผ่านกลไกกองทุนหมุบ้านและชุมชนเมือง สถาบันการเงินชุมชน ตลอดจนการใช้โมเดลเศรษฐกิจ BCG ซึ่งเป็นรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจที่ต่อยอดจากจุดแข็งของประเทศด้านความหลากหลายทางชีวภาพและความหลากหลายทางวัฒนธรรม เพื่อเชื่อมโยงกับหลักคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่สอดคล้องกับเป้าหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืน และเป็นการสานพลัง ของจตุภาคีทั้งภาคประชาชน ภาคเอกชน ภาครัฐ และภาควิชาการ โดยขับเคลื่อนประเทศด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างความยั่งยืนของฐานทรัพยากร ความหลากหลายทางชีวภาพ และวัฒนธรรมด้วยการจัดสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาชุมชนและเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งด้วยทุนทรัพยากร อัตลักษณ์ ความคิดสร้างสรรค์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ยุทธศาสตร์ที่ 3 ยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมภายใต้เศรษฐกิจ BCG ให้สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน และยุทธศาสตร์ที่ 4 เสริมสร้างความสามารถในการตอบสนองต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก
สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ มีบทบาทสำคัญในการสร้างระบบเศรษฐกิจฐานรากด้วยความเข้มแข็งมั่นคงและยั่งยืนของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เพื่อเป็นศูนย์กลางและโครงข่ายการเรียนรู้ เงินทุน สวัสดิภาพ สวัสดิการ และการแก้ไขปัญหาของหมู่บ้านและชุมชนพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนครัวเรือนสมาชิกมีความเป็นอยู่ที่พอเพียง อบอุ่น เข้มแข็ง สู่การเป็นภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมสู่ระบบเศรษฐกิจและสังคมของชาติด้วยแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามวิถีและภูมิปัญญาตนเองของชุมชนท้องถิ่น สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ จึงได้จัดทำโครงการ สทบ. สัญจร 13 สาขา เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกองทุนหมู่บ้าน สถาบันการเงินชุมชน โครงการประชารัฐ โครงการต้นแบบ BCG คณะกรรมการสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน เพื่อเป็นกลไกในการสร้างความเข้าใจในนโยบายรัฐบาล แก่คณะกรรมการ สมาชิก และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ตลอดจนสามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์และกำหนดแนวทางแก้ปัญหา อุปสรรคต่างๆ ของหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง นำมาปรับปรุงและประยุกต์ใช้ให้มีประสิทธิภาพ
อย่างไรก็ตามการจัดโครงการ สทบ. สัญจร 13 สาขา นั้นจะสอดคล้องกับการขับเคลื่อนการพัฒนาโมเดลเศรษฐกิจ BCG โมเดลครอบคลุม 4 อุตสาหกรรมเป้าหมายที่เป็น S-Curve ได้แก่ เกษตรและอาหาร พลังงานและเคมีชีวภาพ การแพทย์และสุขภาพ และการท่องเที่ยว การทำงานในแต่ละด้านเป็นพีระมิดที่ส่วนยอด หมายถึงผู้ประกอบการที่มีความพร้อมสูงมีกำลังลงทุนในเทคโนโลยีและพร้อมรับความเสี่ยง ถึงแม้จะมีจำนวนน้อยแต่สร้างมูลค่าเพิ่มได้สูง และเป็นกำลังสำคัญของเศรษฐกิจไทยในอนาคต ดังนั้นการประชุมร่วมหารือแลกเปลี่ยนรวมทั้งเสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหาต่างๆ ในมิติเศรษฐกิจปัจจุบันนั้น ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญเพื่อนำมาปรับปรุงจุดด้อย พัฒนาจุดเด่นขององค์กรและหน่วยงานตนเองได้ในลำดับต่อไป เพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบายของสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติเป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนด
กรมพัฒนาธุรกิจฯ ปิดกิจกรรมวันเดย์ทริป นครศรีธรรมราช