“ลูกกอ” หรือ เกาลัดป่า ผลไม้พื้นบ้านถิ่นใต้ ฉายา”เกาลัดเมืองไทย” สรรพคุณบำรุงร่างกาย

36781
views
ลูกกอ หรือ เกาลัดป่า

“ลูกกอ” หรือ เกาลัดป่า ผลไม้พื้นบ้านถิ่นใต้ เจ้าของฉายา “เกาลัดเมืองไทย” ลูกกอ ของกินเล่นในวัยเด็ก สรรพคุณบำรุงร่างกาย แก้วัณโรค อาเจียนเป็นเลือด ช่วยห้ามเลือด แก้ไอ ละลายเสมหะ

"ลูกกอ" หรือ เกาลัดป่า ผลไม้พื้นบ้านถิ่นใต้

ยางพาราก็ไม่ดี ปาล์มราคาก็ตกต่ำ โชคดีมี “ลูกกอ” ช่วยสร้างรายได้เสริมขายเพื่อเลี้ยงครอบครัว วันนี้ผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปยังบ้านของนาง พรทิพย์ ทองทิพย์ อายุ59ปี บ้านเลขที่ 115 หมู่1 ต.พรุดินนา อ.คลองท่อม จ.กระบี่ ได้พบกับ ชาวบ้าน 4ถึง5คน ช่วยกันเก็บลูกกอ กันอย่างสนุกสนาน นาง พรทิพย์ บอกว่า ต้นเองได้มีต้นกออยู่ 3ต้น อายุ 35ปี ชึ่ง ต้นกอ มีลักษณะต้นใหญ่ขนาด 2คนโอบ สู่งประมาณ 30เมตร มีผลเป็นหนาม ต้นกอ จะให้ผลผลิต ปีละ 1ครั้ง

"ลูกกอ" หรือ เกาลัดป่า ผลไม้พื้นบ้านถิ่นใต้

โดยจะให้ผลผลิตในเดือน สิงหาคม และ กันยายน ของทุกปี โดยในแต่ละวัน จะเก็บ ลูกได้ วันละ 12 กก. ราคาขายกก.ละ 50บาท คั่วแล้วราคาจะเพิ่มเท่าตัว เก็บได้ เดือนละครึ่ง ชึ้งรายได้ ว้นละ 600 บาท สร้างรายได้เป็นอย่างงาม สร้างรายได้เสริมเป็นอย่างดี ลูกค้าจะสั่งตามออเดอร์ และมาชื้อถึงบ้าน แต่ละวันไม่มีลูกกอเพียงพอให้ลูกค้าด้วยซ้ำ

"ลูกกอ" หรือ เกาลัดป่า ผลไม้พื้นบ้านถิ่นใต้

สรรพคุณ เป็นยา

เกาลัดมีฤทธิ์อุ่น รสหวาน มีสรรพคุณบำรุงร่างกาย บำรุงไต กล้ามเนื้อ ม้าม และกระเพาะอาหาร บำรุงลม แก้ร่างกายอ่อนแอ
แก้ไอ ละลายเสมหะ แก้อาเจียน คลื่นไส้ ท้องเดิน ช่วยห้ามเลือด ช่วยการไหล เวียนเลือด
แก้อาการถ่ายเป็นเลือด เลือดกำเดาไหล
แก้วัณโรคที่ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต และอาเจียนเป็นเลือด

"ลูกกอ" หรือ เกาลัดป่า ผลไม้พื้นบ้านถิ่นใต้

วิธีใช้

ต้มเกาลัด 500 กรัมกับน้ำตาลทราย 180 กรัม จนเปื่อยนิ่ม แล้วนำมายีและกดด้วยแม่พิมพ์ กินเป็นขนมหรือของว่างสำหรับเด็กที่มีกระดูกและกล้ามเนื้ออ่อนแอ และยังเหมาะกับผู้ป่วยหรือผู้ที่ร่างกายไม่แข็งแรงอีกด้วย
กินเกาลัดแห้ง 7 เมล็ดต่อวัน กับโจ๊กไตหมู ช่วยบรรเทาอาการปวดหลังและปวดเท้าได้ หรือกินเกาลัดดิบ แก้คออักเสบ
เผาเปลือกเกาลัดแล้วนำมาบดเป็นผงให้ได้ 6 กรัม ผสมกับน้ำผึ้ง 30 กรัม กินรักษาริดสีดวงทวาร
ต้มเกาลัด 60 กรัมกับพุทราจีนแห้ง 4 ผล และหมูเนื้อแดง กินบำบัดอาการหอบหืดหรือไอ

"ลูกกอ" หรือ เกาลัดป่า ผลไม้พื้นบ้านถิ่นใต้

ข้อควรระวัง

– ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร เช่น ท้องอืดบ่อย ๆ อาหารไม่ย่อย ไม่ควรกิน
– ผู้ที่เป็นโรคไขข้ออักเสบ ร้อนใน ตาบวม ห้ามกิน

น้าเมศ มากผล – รายงาน

 
ถมนคร : คุณค่าที่คู่ควร ถมนคร เครื่องถมเมืองนครศรีธรรมราช
 
SHARE