การสวดมนต์นั้น ต้องถือว่าเป็นเรื่องที่ง่ายสำหรับทุกคนในยุคนี้ สะดวกมากในทุกเพศ ทุกวัยและไม่ใช่เรื่องของคนแก่ อีกต่อไปเหมือนที่เคยเป็นและเราเข้าใจผิดกันอย่างนั้น บทสวดมนต์ต่างๆ มีการเผยแพร่ออกมามากมายในรูปแบบต่างๆ ที่เห็นกันและได้ยินกันจนเคยชินมากมาย
เริ่มต้นด้วยการทำจิตใจให้สงบ กราบพระ ๓ ครั้ง โดยให้ระลึกถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
คำบูชาพระรัตนตรัย อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง อะภิปูชะยามิ อิมินา สักกาเรนะ ธัมมัง อะภิปูชะยามิ อิมินา สักกาเรนะ สังฆัง อะภิปูชะยามิ
คำนมัสการพระรัตนตรัย
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ ฯ (กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมัง นะมัสสามิ ฯ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆัง นะมามิ ฯ (กราบ)
คำอาราธนาศีล ๕
มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะสะหะ ปัญจะ สีลานิยาจามะ
ทุติยัมปิ มะยังภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะสะหะ ปัญจะ สีลานิยาจามะ
ตะติยัมปิ มะยังภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะสะหะ ปัญจะ สีลานิยาจามะ
คำนมัสการพระพุทธเจ้า นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (ว่า ๓ ครั้ง)
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง โดยชอบ
บทสวดไตรสรณคมณ์
พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ | ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ | สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ | ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ | ทุติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ | ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ | ตะติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ
ข้าพเจ้าขอเข้าถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึก แม้ครั้งที่ ๑ แม้ครั้งที่ ๒ แม้ครั้งที่ ๓
คำสมาทานศีล ๕ ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
คำขอขมาพระรัตนตรัย
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ทวารัตเยนะ กะตัง สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเตฯ
บทสวดมนต์ สวดอิติปิโส | อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ
สวากขาโต ภะคะวาตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ (อ่านว่าวิญญูฮีติ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะ ปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ
คำแผ่เมตตาให้แก่ตนเอง อะหัง สุขิโต โหมิ | ขอให้ข้าพเจ้า จงเป็นผู้มีความสุขเถิด
อะหัง นิททุกโข โหมิ | ขอให้ข้าพเจ้า จงเป็นผู้ไม่มีความทุกข์
อะหัง อะเวโร โหมิ | ขอให้ข้าพเจ้า จงเป็นผู้ไม่มีเวร
อะหัง อัพยาปัชโฌ โหมิ | ขอให้ข้าพเจ้า จงเป็นผู้ไม่มีความพยาบาทเบียดเบียน
อะหัง อะนีโฆ โหมิ | ขอให้ข้าพเจ้า จงเป็นผู้ไม่มีความทุกข์กายทุกข์ใจ
สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิฯ | ขอให้ข้าพเจ้า จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญฯ
คำแผ่เมตตาให้แก่สรรพสัตว์ สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
อะเวรา โหนตุ จงเป็นสุขๆ เถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
อัพญาปัชฌา โหนตุ จงเป็นสุขๆ เถิด อย่าได้พยาบาทเบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
อะนีฆา โหนตุ จงเป็นสุขๆ เถิด อย่าได้มีความทุกข์กาย ทุกข์ใจเลย
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ จงมีความสุขกาย สุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นนี้เทอญฯ
ประโยชน์ของการไหว้พระสวดมนต์ไว้ว่า…
๑. เป็นการเสริมสร้างสติปัญญา
๒. เป็นการอบรมจิตใจให้ประณีตและมีคุณธรรม
๓. เป็นสิริมงคล แก่ชีวิตตน และ บริวาร
๔. เป็นการฝึกจิตใจให้มีคุณค่าและมีอำนาจ
๕. ทำให้มีความเห็นถูกต้องตามหลักพุทธศาสนา
๖. เป็นการรักษาศรัทธาปสาทะของสาธุชนไว้
๗. เท่ากับได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าแม้ปรินิพพานแล้ว
๘. เป็นเนตติของอนุชนต่อไป
๙. เป็นบุญกิริยา เป็นวาสนาบารมี เป็นสุขทางใจ
ศาลจ้าวพ่อตาปะขาว ปากน้ำสิชล