ถ้ำเขาขุนพนม ปริศนาพระเจ้าตากสินมหาราช

11457
views
ถ้ำเขาขุนพนม ปริศนาพระเจ้าตากสินมหาราช

ถ้ำเขาขุนพนม ตำนานของชาวนครศรีธรรมราชที่เล่าว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมิได้ถูกสำเร็จโทษ

มีตำนานของชาวนครศรีธรรมราชเล่าว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมิได้ถูกสำเร็จโทษ แต่ทรงผนวชและลงเรือเสด็จไปประทับที่ถ้ำวัดเขาขุนพนม เมืองนครศรีธรรมราชดังที่เคยตั้งพระทัยไว้ เหตุที่ให้ออกข่าวว่าสวรรคตเพื่อให้หัวเมืองใหญ่น้อยได้รู้ว่าไทยมีการผลัดเปลี่ยนอำนาจอย่างสมบูรณ์โดยไม่เกิดสงครามกลางเมือง มิฉะนั้นหัวเมืองต่าง ๆ จะแข็งข้อและยกทัพมาตีแน่นอน

พระเจ้าตากสิน วัดเขาขุนพนม

เรื่องราวของพระเจ้าตากสิน ในประวัติศาสตร์ไทยในประเด็นการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ยังคงเป็นปริศนาและมี การถกเถียงกันมานาน ในตำราประวัติศาสตร์ที่เราได้ร่ำเรียนกันมา ได้กล่าวว่าพระองค์ทรงถูกสำเร็จโทษสิ้นพระชนม์ด้วยท่อนจันทร์ เพราะมีพระสติฟั่นเฟือน นี่คือเรื่องราวที่ ถูกบันทึกไว้ในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หากเราจะรับรู้เรื่องราวแล้วปล่อยผ่านเลยไปด้วยความเชื่อถือ ก็คงไม่มีข้อโต้แย้งใดๆ เกิดขึ้น

ยังมีคนอีกมากมายไม่เชื่อว่า กษัตริย์ไทยผู้กอบกู้บ้านเมืองและเอกราชจากพม่ากลับคืนสู่แผ่นดินไทยพระองค์ นี้จะมีจุดจบในแบบที่ประวัติศาสตร์ได้ถูกบันทึกไว้ มีเหตุผลอะไรหรือหลักฐานอะไร ที่ทำให้เชื่อว่าพระเจ้าตากสินไม่ได้สิ้นพระชนม์ที่กรุงธนบุรี หากแต่เป็นที่เมืองนครศรีธรรมราช

พระเจ้าตากสินทรงยืมเงินจากรัฐบาลจีนจำนวนมาก เพื่อใช้ในการต่อสู้ป้องกันบ้านเมือง จนถึงปลายรัชกาลก็ไม่มีเงินใช้หนี้รัฐบาลจีนซึ่งคุกคามทวงหนี้คืน หาไม่ก็จะเอาไทยเป็นเมืองขึ้น หรืออะไรทำนองนั้น สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงทรงแก้สถานการณ์นี้โดยการตกลงอย่างลับ ๆ กับ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ซึ่งเป็นพระสหายและลูกน้องคนสนิท โดยพระองค์เองแสร้งกระทำการประหนึ่งวิกลจริตเพื่อให้พระสหายยึดอำนาจจาก พระองค์เสีย

 วัดเขาขุนพนม

สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกก็ต้องเสียสละชื่อเสียงเกียรติยศใน การหักหลังเพื่อน โดยการยึดอำนาจจากพระเจ้าตากสิน ทั้งทำข่าวให้ระบือไปว่าได้ประหารชีวิตพระเจ้าตากสินเสียแล้ว แต่ความจริงผู้ที่ถูกประหารคือข้าเก่าที่มีรูปร่างหน้าตาละม้ายพระเจ้าตาก สินเท่านั้น ส่วนตัวพระเจ้าตากสินนั้น ถูกส่งอย่าง “ลับ ๆ” ให้ไปดำเนินพระชนม์ชีพในบั้นปลายที่เมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งมีพระราชโอรสของพระองค์ คือเจ้าพระยานคร (น้อย) อยู่ในฐานะเป็นบุตรของเจ้าพระยานครพัดแล้ว

นอกจากนี้ เรื่องเล่ากันในหมู่สมาชิกตระกูล “ณ นคร” บางกลุ่มในปัจจุบัน บอกว่าหลังจากที่พระเจ้าตากสินทรงผนวชที่วัดเขาขุนพนมระยะหนึ่งแล้ว ก็ได้ประชวรด้วยพระโรคอย่างหนึ่ง จึงจำเป็นต้องทรงลาผนวช แล้วเสด็จไปประทับอยู่ในจวนของเจ้าพระยานคร (น้อย) ในสมัยรัชกาลที่ 3

 วัดเขาขุนพนม

มีการอ้างด้วยว่า เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จสวรรคตแล้ว ได้มีใบบอกเข้าไปแจ้งรัฐบาลในกรุงเทพฯ ว่า “ท่านข้างใน” สิ้นแล้ว ส่วนพระบรมศพนั้นก็ได้ไปตั้งทำการพระเมรุที่ชายทะเลแห่งหนึ่งในจังหวัด นครศรีธรรมราช

ทั้งนี้ มีการอ้างถึง “หลักฐาน” เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือของเรื่องนี้อีกว่า ที่วัดแจ้งและวัดประดู่ซึ่งมีเก๋งไว้อัฐิของเจ้านคร (หนู) หม่อมทองเหนี่ยวชายา และของเจ้าพระยานคร (น้อย) นั้น มีศิลาจารึกภาษาจีนอยู่ 3-4 หลัก หนึ่งในนี้มีผู้อ้างว่า มีข้อความกล่าวถึงว่าเป็นหลุมศพของ “ผู้เป็นใหญ่แซ่เจิ้ง” เนื่องจากพระบิดาของสมเด็จพระเจ้าตากสิน “แซ่เจิ้ง”

สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงทรงใช้ “แซ่เจิ้ง” ด้วย สำเนียงแต้จิ๋วเรียก “แต้” เรื่องนี้เป็นความจริงเพราะมีหลักฐานชั้นต้นยืนยันจำนวนมาก รวมทั้งพระราชสาส์นของพระเจ้าตากสินที่ทรงมีถึงพระเจ้ากรุงจีนก็ใช้ “แซ่เจิ้ง

พระเจ้าตากสิน ทรงผนวช วัดเขาขุนพนม

ชาวเขาขุนพนมมีความเชื่อเรื่องพระเจ้าตากสินมหาราช เสด็จหนีมาประทับที่เขาขุนพนม จึงได้ร่วมมือ กันสร้างพระตำหนักสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช บริเวณชะง่อนหินเชิงเขา ซึ่งเป็นบริเวณที่เชื่อว่าพระองค์ ประทับขณะผนวชอยู่ ประชาชนที่ยังระลึกถึงวีรกรรม และความกล้าหาญในการกู้เอกราชชาติไทยในสมัยเสีย กรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ได้ร่วมกันสร้างพระบรมสาทิสลักษณ์ ทั้งในเพศบรรชิต และชุดฉลองพระองค์นักรบ แล้วอัญเชิญมาไว้ในศาลให้ผู้คนที่ศรัทธาได้มากราบไหว้ ปัจจุบันจึงมีประชาชน จากทั่วสารทิศมาเขาขุนพนมอยู่เสมอเพื่อตามรอยพระเจ้าตากสินมหาราช

ภาพ – internet
ที่มา : gigadeen.exteen

 
ถมนคร : คุณค่าที่คู่ควร ถมนคร เครื่องถมเมืองนครศรีธรรมราช
 
SHARE