อัพเดทล่าสุด!! การต่อภาษีรถยนต์ หรือต่อทะเบียนรถยนต์ประจำปี ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง

4777
views
การต่อภาษีรถยนต์

การต่อภาษีรถยนต์ หรือพูดแบบบ้านๆว่า การต่อทะเบียนรถยนต์ เป็นสิ่งที่กฎหมายระบุไว้ว่าต้องทำทุกปี ถ้าไม่ต่อภาษีรถยนต์ถือว่ามีความผิด แต่หลายคนก็คงเคยเจอปัญหา การต่อภาษี หรือ ต่อทะเบียนรถ กฎหมายกำหนดให้เจ้าของรถต้องทำทุกปี เพราะทำปีละครั้งก็ลืมกันบ้างเป็นธรรมดา ต่อช้าก็ต้องเสียค่าปรับด้วยนะครับ โดยทางขนส่งฯจะเรียกเก็บค่าปรับ 1% ต่อเดือนของค่าภาษีรถ ที่สำคัญ ขาดต่อภาษีเกิน 3 ปี ทะเบียนรถจะถูกระงับทันที!

ต่อภาษี

เช่น ลืมต่อบ้าง ลืมวันครบกำหนดบ้าง ทำให้ไปต่อล่าช้าจนต้องถูกปรับ ซึ่งจริงๆแล้วการต่อภาษีรถยนต์สามารถต่อล่วงหน้าก่อนหมดอายุไม่เกิน 3 เดือน สำหรับคนกลัวลืมก็ต่อล่วงหน้าได้ค่ะ

ข้อสำคัญของการต่อภาษีรถยนต์ คือ การต่อภาษีรถยนต์ จะต้องต่อทุกปี ห้ามขาดเด็ดขาด ส่วนในกรณีขาดการต่อภาษีติดต่อกัน 3 ปี ก็จะถูกระงับการใช้ทะเบียน ทำให้เกิดปัญหาและความยุ่งยากในการทำเรื่องขอทะเบียนใหม่ เพราะฉะนั้น ยอมเสียสละเวลาไปต่อภาษี แค่ปีละครั้งดีกว่านะคะ

ก็อย่างที่บอกข้างต้นค่ะว่า เราสามารถต่อภาษีรถยนต์ได้ล่วงหน้าไม่เกิน 3 เดือน ซึ่งมีข้อดีตรงที่หากเรางานยุ่งมาก เรายังสามารถจัดสรรเวลาสักวันใน 3 เดือนเพื่อไปต่อภาษีรถยนต์ล่วงหน้าได้

สำหรับคนที่กลัวลืมก็มีวีธีง่ายๆมาฝาก แค่เราทำบันทึกแจ้งเตือนไว้ในโทรศัพท์ เพื่อแจ้งเตือนเมื่อใกล้ถึงกำหนดเวลา หรือเอาแบบบ้านๆเลยค่ะ เขียนไว้ในปฏิทิน วงกลมตัวหนาๆไว้เลย เพราะส่วนมากเราจะต้องดูปฏิทินกันบ่อยๆอยู่แล้ว คราวนี้ไม่ลืมแน่นอนค่ะ

 ต่อภาษีรถยนต์

เมื่อถึงเวลาที่จะต้องไปต่อภาษีรถยนต์ สิ่งสำคัญที่ต้องเตรียมเลยคือ เอกสาร หลายคนกังวลว่าจะเอาไปไม่ครบ หรือไม่รู้แม้แต่ว่าจะต้องเอาอะไรไปบ้าง เรามีรายละเอียด เริ่มตั้งแต่การเตรียมเอกสารในการต่อภาษีรถยนต์

1. หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ หรือสำเนา

2. หลักฐานการจัดให้มีประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535

3. หลักฐานการผ่านการตรวจสภาพรถ (เฉพาะรถที่มีอายุ 7 ปีขึ้นไป)

4. หนังสือรับรองการตรวจ และทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง (เฉพาะรถติดแก๊ส)

นำรถเข้าตรวจสภาพ

ขั้นตอนการต่อภาษีรถยนต์ มีดังนี้

1. (ในกรณีรถเกิน 7 ปี) นำรถเข้าตรวจสภาพ ณ งานตรวจสภาพรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดหรือสาขา หรือ สถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.)

2. ชำระเงินค่าภาษีรถ ณ ช่องทางการเสียภาษีต่างๆ

3. บันทึกรายการค่าภาษีรถ

4. รับเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี และหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถคืน

การต่อภาษีรถยนต์

ช่องทางการเสียภาษีรถยนต์ประจำปี มีดังนี้

1. สำนักงานขนส่งทั่วประเทศไทย (ไม่ว่ารถจะจดทะเบียนที่จังหวัดใดก็ตาม)

2. ที่ทำการไปรษณีย์

3. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

Shop Thru For Tax ช็อปให้พอ แล้วต่อภาษี

4. เคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ (จัดส่งใบเสร็จและเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีทางไปรษณีย์)

5. บริการ Drive Thru for Tax ที่สำนักงานขนส่ง

6. บริการ ช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี **ให้บริการวันเสาร์และอาทิตย์** บริการรับชำระภาษีที่ห้างสรรพสินค้า หรือจุดที่สำนักงานขนส่งประจำจังหวัดจัดเตรียมไว้

 
ถมนคร : คุณค่าที่คู่ควร ถมนคร, thomnskhon
 
SHARE