โรคภูมิแพ้นั้นไม่ใช่โรคติดต่อ แต่จะถ่ายทอดโดยตรงทางพันธุกรรมจากทั้งพ่อและแม่สู่ลูก (Multiple gene defect) และในปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทำได้เพียงรักษาตามอาการหรือป้องกันไม่ให้เกิดอาการเท่านั้น
โรคภูมิแพ้เป็นโรคเรื้อรังเช่นเดียวกับเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ฯลฯ ผู้ป่วยภูมิแพ้จะมีการตอบสนองรุนแรงผิดปกติ (Hypersensitive) ต่อสารบางชนิดที่อยู่ในสิ่งแวดล้อม และเข้าสู่ร่างกายโดนปนมากับอากาศที่หายใจ เช่น ฝุ่น ไร แบคทีเรีย เชื้อรา เกสรดอกไม้ หรือปนมากับอาหาร หรือมาสัมผัสกับร่างกายโดยตรง เมื่อสารเข้าสู่ร่างกายจะทำให้เกิดมีสาร Histamine, Cyteinlylleukotrienes ฯลฯ หลั่งในร่างกาย ทำให้เกิดอาการแพ้กับอวัยวะหลายระบบ ถ้าเกิดกับทางเดินหายใจส่วนบนจะทำให้มีอาการหวัดเรื้อรัง คัดจมูก คันจมูก มีน้ำมูก มีเสมหะในลำคอ คันหูปวดหู เวียนศีรษะ
ถ้าเกิดกับหลอดลมก็ทำให้หายใจไม่เต็มอิ่ม ไอเรื้อรัง มีอาการหอบหืด ถ้าเกิดกับผิวหนังก็เกิดผดผื่นคัน เป็นลมพิษ ถ้าเกิดกับทางเดินอาหารจะทำให้คันเพดานปาก ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเสีย ถ้าเกิดกับตาก็จะมีอาการคันตา ตาแดง น้ำตาไหล ปวดศีรษะ กระบอกตาและท้ายทอย ฯลฯ
การป้องกันอาการจากโรคภูมิแพ้
1. หลีกเลี่ยงสารที่ร่างกายแพ้ โดยต้องสังเกตจากอาหารที่รับประทาน ขจัดมลภาวะต่างๆ ฝุ่น ควันรถ ควันบุหรี่ สารเคมีต่างๆ
2. สร้างสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่สะอาด ใช้เครื่องกรองอากาศ ใช้ที่นอนหมอนยางพาราปราศจากไรฝุ่น
3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รวมถึงพักผ่อนอย่างเพียงพอ
4. หากมีอาการบ่อย แนะนำให้ทดสอบภูมิแพ้ เพื่อฉีดวัคซีน Hyposensitization
เมื่อมีอาการภูมิแพ้ควรปฏิบัติดังนี้
1. รับประทานหรือฉีดยาแก้แพ้
2. รักษาโรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น เช่น การติดเชื้อทางเดินหายใจ ไซนัสอักเสบ หลอดลมอักเสบ ฯลฯ
3. ผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติที่ทำให้มีอาการแพ้มากขึ้นตามคำวินิจฉัยจากแพทย์ เช่น ขยายโพรงจมูก Functional nasal surgery ให้กว้างขึ้น แก้ไขภาวะอุดตันของโพรงไซนัส Osteomeatal Complex เพื่อช่วยให้หายใจสูดและสั่งน้ำมูกได้สะดวกขึ้น ฯลฯ
4. ปฏิบัติตนตามคำแนะนำของแพทย์
5. ใกล้ชิดธรรมชาติและอากาศบริสุทธิ์ให้มากยิ่งขึ้น จะช่วยเสริมภูมิร่างกายให้แข็งแรง
ขอบคุณข้อมูลโดย – คู่หูเดินทาง
สายลุยเตรียมพร้อมก่อนไป “เดินป่า” อ่านจบรู้เรื่อง