แห่นางดาน อลังการเมืองนครฯ

3908
views
แห่นางดาน อลังการเมืองนครฯ

ประเพณีแห่นางดาน เป็นประเพณีเก่าแก่ของพราหมณ์ในเมืองนครศรีธรรมราชที่นับถือพระอิศวรเป็น เจ้า กระทำบูชาพระอิศวรในโอกาสขึ้นปีใหม่ ประเพณีนี้ได้ปฏิบัติกันมาตั้งแต่ครั้งมีชุมชนพราหมณ์เกิดขึ้นในนครศรี ธรรมราช คือ ราว พ.ศ. ๑๒๐๐ เป็นต้นมา เมื่อพราหมณ์ได้เคลื่อนย้ายขึ้นไปอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา ก็ได้นำพิธีกรรมในประเพณีนี้ไปถือปฏิบัติ เรียกว่า “พิธีโล้ชิงช้า” หรือ “พิธีตรียัมปวาย” และได้สืบทอดมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ เพิ่งจะยกเลิกไปใน พ.ศ. ๒๔๗๖

Hae Nang Kradan Festival is the ancient Brahman ritual in Nakhon Si Thammarat who believes in Shiva, the Brahman god. Paying homage to Shiva, the Brahman god for the New Year. This festival originated from Brahman community in 1200 AD. Brahman community moved to Ayutthaya and this festival was call Lo Ching Cha or Triyampayai festival in Ratthanakosin period. It has been cancelled in 1933.

ประเพณีแห่นางดาน จัดขึ้นในช่วงวันสงกรานต์ของทุกปีซึ่ง่เป็นประเพณีที่มีหนึ่งเดียว่ในประเทศไทย
Hae Nang Dan festival happens on Songkran’s day every year. Hae Nang Dan festival only celebrates in Nakhon Si Thammarat.

โล้ชิงช้า

พิธีโล้ชิงช้า ในวันขึ้นปีใหม่ของพราหมณ์ คือในเดือนอ้าย ขึ้น ๗ ค่ำ และจะประทับอยู่ในมณฑลพิธีบริเวณหอพระอิศวรจนกระทั้ง เดือนอ้าย แรมค่ำ จึงเสด็จกลับ เชื่อกันว่าการอัญเชิญให้พระอิศวรเสด็จมาเยี่ยมโลก เป็นการประสาทพร ให้มนุษย์โลกมีความสุขสงบและช่วยคุ้มครองโลกให้ปลอดภัย เมื่อบวงสรวงแล้วพระอิศวรก็จะเชิญชวนให้เทพบริวารทั้งหลาย มีพระอาทิตย์ พระจันทร์ พระธรณี และพระคงคา เป็นต้น บันดาลดลให้ชาวเมืองสมปรารถนาอีกทางหนึ่ง
The Giant swing ritual on the Brahman New Year on the first month on the 7th waxing crescent. Shiva will be in Ho Pra Isuan until the first Waning Gibbous, then the Shiva will go back to the heaven. It is a belief that Shiva comes to Earth to give good luck to human. He will bring his servants: Sun, Moon, Galega, and Ganga to bless local people.

พิธีแห่นางดาน ประกอบด้วยเทพชั้นรอง 4 องค์

 คำว่า “นางกระดาน” หมายถึงแผ่นไม้กระดานขนาดกว้างหนึ่งศอก สูงสี่ศอกที่วาดหรือแกะสลักรูปเทพบริวารในคติความเชื่อของพราหมณ์ จำนวน ๓ แผ่น แผ่นแรกคือ พระอาทิตย์ – พระจันทร์ แผ่นที่สองคือพระธรณีและแผ่นที่สามคือพระคงคา เพื่อใช้ในขบวนแห่แหนมารอรับเสด็จพระอิศวร (หรือพระศิวะ) ที่จะเสด็จมาเยี่ยมมนุษย์โลก ณ เสาชิงช้า ในวันขึ้นปีใหม่ของพราหมณ์ คือในเดือนอ้าย ขึ้น ๗ ค่ำ
Nang Kra Dan means the wooden sheet with the width of 1 elbow (Thai measurement), and the height of 4 elbows. There are three wooden plates. The first one is Sun and Moon. The second one is Galega. The third one is Gonga. These three servants will wait for Shiva to come to earth at the giant swing on the Brahman New Year which is the first month on the 7th waxing crescent.

พิธีแห่นางดาน  ตามตำนานความเชื่อของศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู ซึ่งเคยเจริญรุ่งเรื่องในเมืองนครศรีธรรมราชครั้งโบราณ ซึ่งเทพทั้ง 4 องค์วางอยู่บนเสลี่ยงและมี ”นาลีวัน” หามแห่ออกจากฐานพระสยม

กระดานที่ 1 พระอาทิตย์พระจันทร์

กระดานที่ 1 พระอาทิตย์พระจันทร์

พระ อาทิตย์ หรือ พระสุริยา เป็นผู้สร้างกลางวัน เป็นผู้ให้แสงสว่างและความร้อน แก่โลกมนุษย์และดาวเคราะห์อื่น ๆ ด้วยการชักรถม้าเคลื่อนไปในจักรวาลไม่มีวันหยุด ให้พลังงานแก่สรรพสิ่งที่มีชีวิตทั้งปวง ก่อให้เกิดวัฎจักรแห่งดินฟ้าอากาศเป็นฤดุกาล ถือเป็นเทพที่มีคุณูปการต่อการอยู่รอดของสรรพสัตว์

พระจันทร์ หรือ “รัชนีกร” เป็นเทพผู้สร้างกลางคืน เป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์และงดงามอ่อนละมุน ถือเป็นเทพผู้อำนวยให้สิ่งมีชีวิตทั้งหลายได้พักผ่อนและผสมพันธุ์สืบมาถึง ปัจจุบัน

กระดานที่ 2 พระธรณี
กระดานที่ 2 พระธรณี

พระธรณี เทพองค์นี้ มีหน้าที่รองรับน้ำหนักของสรรพสิ่งและพยุงสิ่งทั้งหลายสิ่งที่พระอิศวรสร้าง ไว้ในจักรวาลให้ดำรงอยู่เป็นเสมือนพ่อแม่ของเทพทั้งหลาย รองรับทุกอย่างโดยไม่รังเกียจ เป็นเทพผู้สะสมคุณงามความดีทั้งปวง เมื่อครั้งที่พระพรหมสร้างโลกและขอให้พระอิศวรไปรักษาโลก พระอิศวรทรงห่วงใยว่าโลกไม่แข็งแรงจึงมีการทดสอบโดยหยั่งพระบาทลงมาซึ่งหาก หยั่งทั้งสองพระบาท เกรงว่าโลกจะแตก จึงหยั่งพระบาทมาเพียงข้างเดียว และในการนี้มีพระธรณีได้เข้ามาทำหน้าที่รองรับพระบาทของพระอิศวรเอาไว้ จากพุทธประวัติได้กล่าวถึงเกียรติคุณพระธรณีอยู่ตอนหนึ่งว่า เมื่อวันเพ็ญเดือนหกก่อนพุทธกาล พระยาวัตดีมารมาขัดขวางมิให้พระสิทธัตถะตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ มีการโต้เถียงทวงสิทธิ์โพธิบัลลังก์กัน พญามารจึงให้รี้พลย่ำยีพระสิทธัตถะ หวังให้พระสิทธัตถะลุกหนีหรือม้วยมรณ์ เหตุการณ์นี้พระธรณีได้สดับอยู่ เห็นจริงว่าพระสิทธัตถะมีเจตนากระทำเพื่อมวลมนุษย์โดยแท้ จึงปรากฏกายขึ้นข้างบัลลังก์ใต้ร่มโพธิ์ที่พระสิทธัตถะประทับแล้วก็ปิดน้ำใน โมฬีแห่งตน กระแสชลก็หลั่งไหลออกจากเกศาแห่งพระธรณี นองท่วมประดุจห้วงมหาสมุทร ในที่สุดเสนามารก็ตาย พระสิทธัตถะจึงสำเร็จอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ

กระดานที่ 3 พระคงคา
กระดานที่ 3 พระคงคา

พระคงคา เทพองค์นี้เป็นธิดาองค์แรกของพระหิมวัตกับนางเมนา พระสวามีของพระคงคาคือพระอิศวร พระคงคาเป็นเทพผู้อำนวยความชุ่มฉ่ำสมบูรณ์ให้แก่สรรพสิ่ง แต่เดิมอยู่บนสวรรค์ เพิ่งจะลงมาสู่โลกมนุษย์ในครั้งที่ท้าวภคีรถสำเร็จการพิธีอัญเชิญให้ลงมา ชำระอัฐิโอรสท้าวสัคระที่ถูกท้าวกบิลบันดาลด้วยฤทธิ์เป็นเพลิงไหม้ตาย จึงจำเป็นต้องใช้น้ำจากพระคงคาบนสวรรค์มาชำระอัฐิ จึงจะหมดบาปไปบังเกิดในสวรรค์ได้อีก

ที่มา : เรื่อง – fb pages/Travel Hae Nang Dan – ท่องเที่ยวแห่นางดาน
ขอบคุณภาพสวยๆจาก – facebook.com/krisanadej ( Krisanadej Jaroensutasinee )

แห่นางดาน อลังการเมืองนครฯ ปี 2557 – ประเพณีโล้ชิงช้า ครั้งสุดท้าย ก่อนการบูรณะหอพระอิศวร ..
by : MedeeNews / ป้ากานต์มีดี กาญจนา ประดู่

 
ถมนคร : คุณค่าที่คู่ควร ถมนคร, thomnskhon
 
SHARE