ผู้เชี่ยวชาญเผย!! เทคนิควิธีดับเผ็ด ทั้งง่าย ทั้งหายเผ็ดได้อย่างเร็ว!

2473
views

อาหารรสจัดจ้านคือหนึ่งเอกลักษณ์ของความเป็นไทย โดยเฉพาะรสชาติของความเผ็ด ที่ไม่ใช่แค่ต่างชาติเท่านั้นที่ชื่นชอบ แต่คนไทยเองก็ทานกันไปทั่วทุกหัวระแหงประเทศ และปัญหาที่หลายคนเจอกันบ่อยคือการแก้เผ็ดของพริก เชื่อว่าส่วนใหญ่ก็มักจะเลือกน้ำเปล่าเย็นๆ มาดื่มดับความเผ็ดกันเพราะมันง่าย ทว่ามันไม่ได้ช่วยอะไรหรอก มาดูวิธีดับเผ็ดกันแบบเซียนๆ ดีกว่า

สิ่งสำคัญที่ต้องรู้ก่อนคือ ‘ความเผ็ด’ ไม่ใช่ ‘รสชาติ’ แต่เป็นเพียงอาการที่เกิดขึ้นจากการระคายเคืองของสารแคปไซซิน ที่มีคุณสมบัติเหมือนน้ำมันเคลือบไปทั่วปาก ลิ้น และลำคอ จนทำให้รู้สึกเผ็ดแสบไปทั่วทั้งปาก ดังนั้นในวิชาเรียนที่สอนเกี่ยวกับการรับรสของลิ้น จึงไม่มีบริเวณใดที่รับรสชาติเผ็ดได้ เพราะมันเป็นแค่เพียงความเจ็บปวดทางกายเท่านั้น ซึ่งวิธีการดับเผ็ดดับร้อนแบบเซียนๆ ก็มีอยู่หลายวิธี

1. ดื่มนม การดื่มนมเป็นวิธีการที่เชื่อว่าหลายคนน่าจะเคยได้ยินมา โดยเหตุผลที่นมสามารถดับความเผ็ดแสบได้ก็เพราะมันมีไขมันเป็นส่วนประกอบสูง ซึ่งเจ้าไขมันพวกนี้จะทำหน้าที่ละลายสารแคปไซซินที่เคลือบอยู่ภายในปากให้หมดไป

2. ข้าวหรือขนมปัง ไม่ต้องสรรหาอะไรมาช่วยให้เยอะแยะ เพราะข้าวหรือขนมปังที่อยู่ตรงหน้าเราก็สามารถดับความเผ็ดได้ เนื่องจากทั้งข้าวและขนมปังมีคุณสมบัติดูดซับความชื้นได้ ดังนั้นน้ำมันแคปไซซินก็จะโดนดูดออกจากลิ้นไปได้ด้วยเหมือนกัน

3. น้ำอุ่นหรือซุปร้อน ทานเผ็ดตามด้วยร้อนเป็นอะไรที่ทรมาน แต่ขอบอกเลยว่าทีเดียวอยู่ เพราะอุณหภูมิของน้ำที่ค่อนข้างสูงจะช่วยละลายสารแคปไซซินที่เกาะอยู่บนลิ้นให้ออกไปได้นั่นเอง

4. น้ำมะนาว ถ้ารู้ตัวว่ามื้อนั้นต้องเผ็ดหูดับตับไหม้ ให้สั่งน้ำมะนาวมาเป็นเครื่องดื่มเคียงจะดีกว่า เพราะกรดของน้ำมะนาวจะทำปฏิกิริยากับสารแคปไซซินซึ่งมีฤทธิ์เป็นด่าง สู้กันเรียบร้อยก็หายเผ็ดแล้วล่ะ

5. ปล่อยน้ำลายให้ไหล หากอยู่คนเดียวเปล่าเปลี่ยวอุรา จกส้มตำเผ็ดเบอร์แรงมาก็ให้อ้าปาก ปล่อยน้ำลายให้ไหลออกจากปากให้ได้มากที่สุด สภาพอาจจะดูน่าเกลียด ดูทุลักทุเลไปสักหน่อย แต่รับรองว่าได้ผลล้านเปอร์เซ็นต์ เพราะสารแคปไซซินจะออกมาจากปากเราพร้อมน้ำลาย สัก 3-4 หยดก็ดื่มน้ำตามได้เลย

ข้อควรระวัง กลุ่มคนที่เป็นโรคกระเพาะอาหารอยู่ ควรหลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ดจัด เพราะความเผ็ดจะทำให้กรดไปกัดแผลในกระเพาะอาหาร ส่วนเด็กและคนแก่ที่สำลักง่ายก็ควรหลีกเลี่ยงเช่นกัน เพราะถ้าสำลักเข้าหลอดลม กรดอาจจะไปกัดหลอดลม ทำให้เกิดปัญหาหลอดลมหดเกร็ง ตีบ บวม หายใจไม่ออกได้

 
ถมนคร : คุณค่าที่คู่ควร ถมนคร, thomnskhon
 
SHARE