ยามาดะ นางามาซะ หรือ ออกญาเสนาภิมุข (ญี่ปุ่น: 山田長政 Yamada Nagamasa; พ.ศ. 2113 — พ.ศ. 2173) เป็นซามูไรชาวญี่ปุ่น ที่เข้ามารับราชการ ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้รับบรรดาศักดิ์เป็น ออกญาเสนาภิมุข
ยามาดะ นางามาซะ เดินทางเข้ามากรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยพระเจ้าทรงธรรม โดยเดินทางกลับมาพร้อมกับคณะทูตจำนวน 60 คน ที่พระเจ้าทรงธรรมทรงส่งไปถึงเมืองเอโดะ (โตเกียวในปัจจุบัน) ในวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2164 นะงะมะซะ
ซึ่งในขณะนั้นเป็นเพียงข้าราชการชั้นผู้น้อย ได้รับราชการในกรมอาสาญี่ปุ่น และเจริญก้าวหน้าในเวลาต่อมา เป็นเจ้ากรมอาสาญี่ปุ่น ในชื่อออกญาเสนาภิมุข (ตำแหน่งออกญา เทียบเท่าพระยา)
ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ยามาดะ นางามาซะถูกล้อมจับ และถูกเนรเทศจากกรุงศรีอยุธยาไปเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช มีบุตรชายลูกครึ่งไทย-ญี่ปุ่น กับภรรยาชาวไทยนามว่า โอนิน และได้ส่งบุตรชายและคณะไปเรียกส่วยภาษีจากเมืองปัตตานี แต่ได้รับการต่อต้านจากจากชาวต่างชาติในเมืองปัตตานีเช่น ฮอลันดา โปรตุเกส และอังกฤษ ที่ไม่พอใจที่ชาวญี่ปุ่นมีอิทธิพลในแถบนั้น เมื่อ ซามูไร ยามาดะ เป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช โดยมีเรื่องเล่าว่า พระยานครศรีธรรมราช ซามูไร ได้ทำเรื่องไม่ดีไม่งามไว้มาก ดังบทชาน้อง (กล่อมเด็ก) ของชาวนครศรีธรรมราช ความว่า
“ไก่อูกเหอ ไก่อูกหางลุ่น
ข้าหลวงญี่ปุ่น ทำวุ่นจับเด็ก
จับเอาแต่สาวสาว บ่าวบ่าวไปทำมหาดเล็ก
ญี่ปุ่นจับเด็ก วุ่นทั้งเมืองนครเอย”
ในช่วงที่ ซามูไร ยามาดะ เป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ยกกองทัพไปทำศึกกับปัตตานี แต่ได้รับบาดเจ็บถูกฟันที่ขา จึงยกทัพกลับนครศรีธรรมราชขณะที่การรบยังไม่เสร็จสิ้น ยามาดะ นางามาซะ ถึงแก่กรรมที่เมืองนครศรีธรรมราช เมื่อ พ.ศ. 2176
หลังจากได้รับพิษจากยารักษาแผล ที่พระเจ้าปราสาททองทรงบัญชาให้ออกพระมะริด เจ้าเมืองไชยา นำยาพิษงูผสมยางไม้ มาให้รักษาโดยหลอกว่าเป็นยาหลวงจากราชสำนัก ทั้งที่เป็นยาพิษงูผสมยางไม้ชนิดหนึ่ง ทำให้ ซามูไร ยามาดะ เสียชีวิตในอีกไม่กี่ชั่วโมงถัดมา
อนุสรณ์สถานความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น ณ สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ 84 ( ทุ่งท่าลาด ) เมืองนครศรีธรรมราช เรื่องราวของยามาดะ นางามาซะ เป็นภาพสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น ที่มีมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่แต่สมัยอยุธยาตลอดจนถึงปัจจุบัน
ศาลจ้าวพ่อตาปะขาว ปากน้ำสิชล