การจัดหฺมฺรับ ยกหฺมฺรับไปไหน ไปให้ใคร

8166
views
ยกหฺมฺรับไปไหน

ลูกหลานชาวเมืองคอน สะท้อนภูมิปัญญาบรรพบุรุษ การจัดหฺมฺรับ (อ่านว่า หมรับ) หรือสำรับ พกห่อ
ในพิธีการทำบุญชาวนครศรีธรรมราชจะมีการจัด หฺมฺรับ (หมับหมายถึงสำรับ) ถือวันแรม ๑๓ ค่ำ เป็นวันจ่าย คล้ายๆ กับคนจีน ก็จะเป็นช่วงของการจัดเตรียมจัดหาอาหารแห้ง พืชผักที่เก็บไว้ได้นาน ข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน

ยกหฺมฺรับวันไหน

เนื่องจากเข้าฤดูฝนฤดูมรสุมการบิณฑบาตลำบาก อาหารการกินของพระสงฆ์จะขาดแคลนไม่สะดวกและที่สำคัญขาดไม่ได้เป็นอันขาดคือขนมที่เป็นสัญลักษณ์ของสารทเดือนสิบ ทั้ง 5 ชนิดอันได้แก่ ขนมพอง ขนมลา ขนมบ้า ขนมดีซำ เหตุผลที่ขาดไม่ได้เนื่องจากขนมแต่ละชนิดมีลักษณะ อันสื่อความหมายและความสำคัญตามความเชื่อสำหรับให้ผีเปรตนำไปใช้สอยในเมืองนรก

ขนมเดือนสิบ

วันยกหฺมฺรับ ยกหฺมฺรับวันไหน ไปให้ใคร

หลังจากจัดเตรียมสิ่งของจำเป็นในการจัดหฺมฺรับครบถ้วนแล้ว ในวันแรม ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำ ก็จะนำจัดใส่ภาชนะ เช่น กระจาด ตะกร้า กระเชอ กะละมัง ถัง ชะลอม หลัว กระบุง แล้วแต่ถนัด พร้อมทั้งตกแต่งภายนอกให้สวยงาน ด้วยธงสีต่าง ดอกไม้ ใส่เงินคล้ายต้นผ้าป่า ต้นกฐิน แล้วแต่ใครจะประดิดประดอย ใครมีฝีมือก็จะได้แสดงใน งานบุญใหญ่วันนี้ ตอนเป็นเด็กทุกครั้งผู้เขียนจะตื่นแต่เช้าไปช่วยย่าช่วยยายจัดหฺมฺรับ ย่าบอกว่านอกจากจะได้บุญแล้วจะได้หัดไว้ ถ้าอย่าไม่อยู่จะได้ทำเป็น จัดเสร็จสำเร็จแล้วก็อาบน้ำแต่งตัวให้สวยงาม มาพร้อมหน้าญาติพี่นอ้งก็ช่วยกันแห่หฺมฺรับจากบ้านไปวัดในชุมชนหรือวัดที่บรรพบุรุษของตนนิยมไป พิธีทางสงฆ์ก็มีการฉลองหฺมฺรับและทำบุญเลี้ยงพระด้วยอาหารคาว-หวานเสร็จแล้วจึงมีการบังสุกุลการทำบุญวันนี้เป็นการส่งบรรพบุรุษและญาติพี่น้องให้กลับไปยังเมืองนรกตามความเชื่อ

แห่หฺมฺรับ

การตั้งเปรต

เสร็จจากการฉลองหมฺรับและถวายภัตตาหารแล้ว ลูกหลานก็จะนำขนมอีกส่วนหนึ่งไปวางไว้ตามบริเวณลานวัด ข้างกำแพงวัด โคนไม้ใหญ่ เรียกว่า “ตั้งเปรต” เพื่อแผ่ส่วนกุศลเป็นทานแก่ผู้ล่วงลับที่ไม่มีญาติ หรือญาติไม่มาร่วมทำบุญให้ การชิงเปรตจะทำตอนตั้งเปรตเสร็จแล้ว เพราะเชื่อว่าถ้าหากใครได้กินของเหลือจากการเซ่นไหว้บรรพบุรุษจะได้รับกุศลเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง

ลูกหลานชาวเมืองคอน สะท้อนภูมิปัญญาบรรพบุรุษ / ญาดา พัชระ
ตอนที่ 2
ภาพ – internet

 
ถมนคร : คุณค่าที่คู่ควร ถมนคร, thomnskhon
 
SHARE