สสจ.นครศรีธรรมราช แจงเหตุสั่งทั้งจังหวัดใช้ ATK ยี่ห้อเล่อปู๋ งดใช้ในกลุ่มเสี่ยงต่ำ-ประชาชนทั่วไป ให้ใช้เฉพาะกลุ่มเสี่ยงสูง
กรณีที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ประกาศให้ทั้งจังหวัดใช้ชุดตรวจแอนติเจน เทสต์ คิท(ATK) ยี่ห้อเล่อปู๋(Lepu) ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) กระจายมายังโรงพยาบาลแต่ละแห่งเพื่อแจกฟรีให้ประชาชน เฉพาะกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำหรือประชาชนทั่วไปเท่านั้น โดยไม่ให้ใช้กับผู้สัมผัสเสี่ยงสูง
ล่าสุด เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2564 นพ.จรัสพงษ์ สุขกรี นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช ชี้แจงเรื่องนี้ว่า ตามมาตรฐานของชุดตรวจATK แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ สำหรับทางการแพทย์(Professional Use) ที่ต้องให้แพทย์ใช้ตรวจเท่านั้น ด้วยวิธีแยงเข้าไปหลังโพรงจมูกซึ่งอยู่ต่อกับลำคอ
และ สำหรับประชาชนทั่วไป(Home Use) ด้วยการแยงเข้าไปในรูจมูกส่วนหน้า ซึ่งตามหลักการแล้วหากเป็นประชาชนเสี่ยงสูง สัมผัสผู้ติดเชื้อมา ไปถึงโรงพยาบาลก็ต้องใช้วิธีการตรวจด้วย RT-PCR เพื่อผลที่ชัดเจน หรือหากจะตรวจด้วยแอนติเจน ก็ต้องใช้แบบทางการแพทย์ โดยแพทย์เป็นผู้เก็บตัวอย่าง
“แต่พบโรงพยาบาลบางแห่งที่ต้องการลดต้นทุน นำชุดตรวจ ATK แบบที่ประชาชนตรวจ มาตรวจให้กับผู้สัมผัสเสี่ยงสูง จึงต้องออกประกาศว่า หากเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ต้องใช้การตรวจแบบทางการแพทย์เท่านั้น” นพ.จรัสพงษ์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวแสดงว่าประกาศดังกล่าวไม่ได้เกิดจากปัญหาของชุดตรวจ ATK เล่อปู๋ ใช่หรือไม่ นพ.จรัสพงษ์ กล่าวว่า ไม่ได้เกิดปัญหาที่ชุดตรวจ เพราะชุดตรวจก็มีมาตรฐานสำหรับการตรวจของประชาชนทั่วไป ซึ่งสามารถเข้ารับแจกฟรีได้ที่ รพ. เหมือนเดิม
แจงแล้ว! เหตุสสจ.นครฯ สั่งงดใช้ATK ยี่ห้อ LEPU
นครศรีธรรมราช จัดกิจกรรมสัปดาห์ส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา ปี 2567