ผู้ว่าฯไกรศร ลุยติดตามสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ อ.ทุ่งสง ได้รับผลกระทบรวม 50 ครัวเรือน

1209
views

ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ลงพื้นที่ติดตามการแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช เน้นย้ำให้เตรียมความพร้อมเครื่องมืออุปกรณ์ที่จะนำมาใช้ให้เหมาะสมกับสถานที่

จากเหตุการณ์ฝนตกหนักในพื้นที่อำเภอทุ่งสง วันที่ 24 ต.ค.2564 เวลา 15.00 น เกิดน้ำท่วมฉับพลัน ในพื้นตำบลนาไม้ไผ่ ประชาชนได้รับผลกระทบในพื้นที่ตำบลนาไม้ไผ่ อำเภอทุ่งสง ในพื้นที่หมู่ 6, 7, 8, 10,11ตำบลนาไม้ไผ่ 50 ครัวเรือน

เข้าวันนี้ (25 ตุลาคม 2564) นายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช พร้อมด้วยป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครศรีธรรมราช ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ตำบลนาไม้ไผ่ ติดตามการทำงานของเจ้าหน้าที่การช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ที่องค์การบริหารส่วนตำบลนาไม้ไผ่ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ร่วมประชุมรับฟังการรายงานสถานการณ์ ก่อนลงพื้นที่ตรวจสอบพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ มอบเครื่องอุปโภคบริโภคให้กับประชาชนผู้ประสบภัยน้ำท่วม ในพื้นที่ หมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 11 ตำบลนาไม้ไผ่ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช และกล่าวว่า ในวันนี้ลงพื้นที่เพื่อติดตามการทำงานในการป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย ทั้งก่อนเกิดเหตุ ขณะเกิดเหตุ และหลังเกิดเหตุ หลังจากพื้นที่อำเภอทุ่งสง เกิดฝนตกหนักทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน ทำให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่หมู่ 6, 7, 8, 10,11 ตำบลนาไม้ไผ่ ประชาชนได้รับผลกระทบ 50 ครัวเรือน และจากที่กระทรวงมหาดไทย แจ้งให้มีการติดตามสถานการณ์ภาคใต้ในภาพรวม

ซึ่งจังหวัดนครศรีธรรมราชได้ติดตามข่าวสารมาเป็นระยะ หลังจากเกิดฝนตกในพื้นที่ตั้งแต่วันที่ 23 ตุลาคม 2564 ตอนกลางคืน จนถึงช่วงบ่ายของวันที่ 24 ตุลาคม 2564 โดยในเบื้องต้น มอบหมายให้สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดนครศรีธรรมราช สาขาทุ่งใหญ่ ประสาน กอปภ.อบต.นาไม้ไผ่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมจัดชุดปฏิบัติการพร้อมรถยนต์กู้ภัยเคลื่อนที่เร็ว + เรือกู้ภัย พร้อมเข้าพื้นทีช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบทันที

โดยการทำงานได้ให้ความสำคัญ 3 ประการ คือ ประการแรก การช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วมพื้นที่อยู่อาศัย ดูแลในเรื่องของความเป็นอยู่ เบื้องต้นน้ำเครื่องอุปโภค บริโภค ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากพื้นที่ในการประกอบอาชีพ เช่น สวนยางพาราถูกน้ำท่วมไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ขอให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปดูแลช่วยเหลือเบื้องต้น

ประการที่ 2 เส้นทางคมนาคม ถนนที่ถูกน้ำท่วมสูงรถเล็กไม่สามารถสัญจรไปมาได้ จะต้องเร่งแก้ไขปัญหาประสานหน่วยกำลังเจ้าหน้าที่ทหารเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางอย่างเร่งด่วน

ประการที่ 3 การสำรวจผลอาสิน พืชผลทางด้านการเกษตรที่ได้รับความเสียหาย อย่างไรก็ตามก่อนถึงจุดนี้ เราจะต้องมองไปข้างหน้าถึงการป้องกันระงับอย่างไรไม่ให้พื้นที่แปลงเกษตร พืชผลทางการเกษตรได้รับความเสียหาย ที่สำคัญคือการบูรณาการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานในพื้นที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานปกครอง กำนันผู้ใหญ่บ้าน นายอำเภอ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด ต้องบูรณาการการทำงานร่วมกันในการทำงาน เพื่อดำเนินการตามแผนงานให้ไปในทางเดียวกัน เพื่อกำหนดจุดว่าเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยจะต้องยกระดับขึ้น

โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ลงพื้นที่เข้าไปอพยพช่วยเหลือพี่น้องประชาชนได้ทันท่วงที นอกจากนี้ยังได้เน้นย้ำให้เตรียมความพร้อมเครื่องมืออุปกรณ์ที่จะนำมาใช้ให้เหมาะสมกับสถานที่ และจากการประเมินเบื้องต้นในการทำงานของพื้นที่มีความพร้อมรวดเร็วและทันใจ

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดนครรีธรรมราช

 
ถมนคร : คุณค่าที่คู่ควร ถมนคร, thomnskhon
 
SHARE