นครศรีธรรมราช เป็นเมืองโบราณที่มีความสำคัญทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง และศาสนามากที่สุดเมืองหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมืองนี้มีชื่อเสียงเป็นที่ รู้จักกันอย่างกว้างขวางมาไม่น้อยกว่า ๑,๘๐๐ ปีมาแล้ว
ศิลาจารึกเมืองนครศรีธรรมราช จำนวน ๗ หลัก จำแนกได้เป็น ๒ ประเภท คือ จารึกที่ขุดพบที่จังหวัดนครศรีธรรมราช แต่ไม่ได้กล่าวถึงประวัติศาสตร์เมืองนครและจารึก ที่กล่าวถึงประวัติศาสตร์ของเมืองนคร
จารึกที่ไม่ได้กล่าวถึงเมืองนคร มี ๕ หลัก คือ
ศิลาจารึกวัดพระมหาธาตุ จารึกอักษรทมิฬ ด้านแรกตอนต้นใช้ภาษาสันสกฤต นอกนั้นเป็นภาษาทมิฬ จะกล่าวถึงวันเวลา จารึกและพิธีพราหมณ์ มีคำว่า พราหมณ์ คงคา โค ปรากฏอยู่ในจารึกไม่ได้กล่าวถึงนครศรีธรรมราชโดยตรง แต่เป็นจารึกกิจกรรม ในศาสนาพราหมณ์ที่ตนนับถือ เชื่อกันว่าพราหมณ์ที่เข้ามาอยู่ในดินแดนนี้ ประมาณ พุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๗ เป็นผู้จารึก
ศิลาจารึกโพธิ์ลังกา ใช้อักษรมอญโบราณ ภาษามอญและพม่าโบราณ กล่าวถึง พญานาค ๒ ตัว ชูเศียรแสดงความเคารพนบน้อมต่อพระอาทิตย์ แต่มิได้กล่าวถึง นครศรีธรรมราชโดยตรง เป็นการกล่าวถึงความเชื่อของผู้บันทึก พบที่วิหารโพธิ์ลังกา วัดพระมหาธาตุ
(แปลโดยสรุปใจความ) พญานาค ๒ ตัวชูเศียรเลิก พังพาน มีเกล็ดสีแดงดั่งเปลวเพลิง เคลื่อนไหวไปมาดุจพัดใบตาลที่กําลัง โบกสะบัดด้วย อากัปกิริยาอันสง่างามและกล้าหาญมองดูหมือนกับพญานาคทั้ง ๒ นั้นกําลังเปล่งเสียงร้องคํารามก้องป่า พร้อมๆ กับเคลื่อนกาย ไปอย่างแช่มช้า เป็นภาพที่แสดงความเคารพนบนอบต่อ พระอาทิตย์ตลอดกาลชั่วกัปแห่งพญานาค เบื้องซ้ายนั้นเป็นภาพ บ้านเมืองของพวกเรา
ศิลาจารึกหลักที่ ๒๘ วัดพระมหาธาตุ ใช้อักษรปัลลวะ ภาษามอญโบราณ กล่าวถึง คำบรรยายรูปเคารพ ซึ่งเป็นพ่อมหาแห่งหัวเมืองชั้นนอกมีข้อสังเกตว่า น่าจะเป็นจารึก ที่ฐานรูปเคารพ แต่รูปเคารพหายไปคงเหลือแต่ฐาน
ศิลาจารึกวัดมเหยงคณ์ ใช้อักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต กล่าวถึงอาคาร ที่ใช้ประกอบพิธีกรรม และการปฏิบัติธรรมของศาสนาพราหมณ์ ข้อสังเกตไม่ได้กล่าวถึง นครศรีธรรมราช
จารึกหุบเขาช่องคอย ใช้อักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต กล่าวถึงการบูชาพระศิวะ และขอพร ข้อสังเกต เป็นจารึกของพราหมณ์ ที่มาอยู่ในบริเวณนี้ ตามความเชื่อและ ศรัทธา
จารึกที่กล่าวถึงประวัติศาสตร์เมืองนคร มี ๒ หลักคือ
ศิลาจารึกวัดเสมาเมือง ใช้อักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต กล่าวถึง พระเกียรติคุณ ของพระเจ้ากรุงศรีวิชัย และสรรเสริญคุณของพระองค์ ข้อสังเกต มีกล่าวถึงศรีวิชัย และไศเลนทรวงศ์และศรีมหาราชาสันนิษฐานว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับความรุ่งเรืองของ อาณาจักรศรีวิชัยในบริเวณนี้
ศิลาจารึกวัดเวียง ใช้อักษรขอม ภาษาสันสกฤต กล่าวถึงพระเจ้าผู้ครองเมือง ตามพรลิงค์ ทรงปฏิบัติเกื้อกูลแก่พระพุทธศาสนา ข้อสังเกต มีการกล่าวถึงตามพรลิงค์ เป็นจารึกว่าด้วยเมืองนครศรีธรรมราชโดยตรง
เรียบเรียง – ขอบคุณภาพ
กรมพัฒนาธุรกิจฯ ปิดกิจกรรมวันเดย์ทริป นครศรีธรรมราช