หอพระอิศวร และเสาชิงช้า เทวสถานในศาสนาพราหมณ์ เมืองนครศรีธรรมราช

6224
views
หอพระอิศวรและเสาชิงช้า นครศรีธรรมราช

หอพระอิศวรและเสาชิงช้า นครศรีธรรมราช

หอพระอิศวร เป็นเทวสถานในศาสนาพราหมณ์ ลัทธิไศวนิกาย บูชาพระอิศวรเป็นใหญ่กว่าเทพเจ้าองค์อื่นๆ เชื่อกันว่าหอพระอิศวรในสมัยแรกเริ่มคงอยู่ที่ฐานพระสยมภูวนารถ ในเขตตลาดท่าชี ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาจึงได้ย้ายมาตั้ง ณ สถานที่ในปัจจุบัน และครั้งนั้นคงสร้างหอพระนารายณ์ เสาชิงช้า และโบสถ์พราหมณ์ขึ้นพร้อมกันด้วย

ประดิษฐานศิวลึงค์ ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของพระอิศวรและฐานโยนิ รวมทั้งเทวรูปสำริดอีกหลายองค์ อาทิ เทวรูปศิวนาฎราช พระอุมาและพระพิฆเนศ

ตั้งอยู่ริมถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ตรงข้ามหอพระนารายณ์ หอพระอิศวรเป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพพระอิศวร อันเป็นเทพองค์หนึ่งของพราหมณ์ ใช้เป็นเทวสถานสำหรับประกอบพิธีกรรมของศาสนาพราหมณ์ สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยา แต่ของเดิมชำรุดไปหมดแล้วอาคารที่ปรากฏทุกวันนี้ เป็นอาคารที่กรมศิลปากรบูรณะขึ้นใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2509 ทางด้านเหนือของหอพระอิศวรเป็นวัดเสมาเมือง ทางด้านใต้เป็นเสาชิงช้า ซึ่งสร้างขึ้นใหม่แทนของเก่าซึ่งใช้ในพิธียัมปวาย และตรีปวาย ของพราหมณ์ เมืองนครศรีธรรมราช

หอพระอิศวร – ประดิษฐานศิวลึงค์ ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของพระอิศวรและฐานโยนิ รวมทั้งเทวรูปสำริดอีกหลายองค์
อาทิ เทวรูปศิวนาฎราช พระอุมาและพระพิฆเนศ ประดิษฐานศิวลึงค์ ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของพระอิศวรและฐานโยนิ
รวมทั้งเทวรูปสำริดอีกหลายองค์ อาทิ เทวรูปศิวนาฎราช พระอุมาและพระพิฆเนศ)

หอพระอิศวรและเสาชิงช้า นครศรีธรรมราช

โดยจำลองแบบมาจากเสาชิงช้าในกรุงเทพฯ แต่มีขนาดเล็กกว่า และ เพิ่งเลิกไปเมื่อ พ.ศ. 2468 เดิมหอพระอิศวรเป็นที่ประดิษฐานเทวรูป พระอิศวรหลายองค์ เป็นปางหรือภาคต่างๆ กัน ซึ่งเป็นเทพสูงสุดตามความเชื่อของพราหณ์ลัทธิไศวนิกาย แต่เดิมใกล้ๆ กับเสาชิงช้า มีโบสถ์พราหมณ์อยู่หลังหนึ่ง

หอพระอิศวรและเสาชิงช้า นครศรีธรรมราช

แต่ปัจจุบันผุพังลงจนไม่เหลือซากแล้ว ภายในบริเวณโบสถ์เป็นแหล่งที่พบชิ้นส่วนเทวรูปที่หล่อด้วยสำริดอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ 18 – 25 หลายองค์ด้วยกัน อาทิ พระพิฆเนศวร พระศิวะนาฏราช พระอุมา และรูปหงส์ นับว่าเก่าแก่มีค่ายิ่งนัก ซี่งต่อมาได้ย้ายมาไว้ในหอพระอิศวรชั่วคราว และจากนั้นทางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเกรงว่าจะสูญหายไป จึงได้ย้ายมาเก็บรักษาไว้ในห้องจัดแสดงของทางพิพิธภัณฑ์ โดยหล่อรูปจำลองไว้แทนที่ในหอพระอิศวร

หอพระอิศวรและเสาชิงช้า นครศรีธรรมราช

 
ถมนคร : คุณค่าที่คู่ควร ถมนคร เครื่องถมเมืองนครศรีธรรมราช
 
SHARE