ประวัติถมนคร เครื่องถมเมืองนคร

16957
views
ประวัติเครื่องถมนคร

เครื่องถมเมืองนคร เครื่องถม ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๔๙๓ ให้นำนิยามคำว่า “ถม” ไว้ว่า “วิธีทำภาชนะ โดยลงยาตะกั่วทับหรือถมรอยเป็นลวดลายต่างๆ เรียกภาชนะชนิดนั้นว่า เครื่องถม”

ประวัติเครื่องถมนครศรีธรรมราช

เครื่องถม” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ อธิบายว่าเป็นภาชนะหรือเครื่องประดับที่ทำโดยใช้ผงยาถมผสมน้ำประสานทองถมบนลวดลายที่แกะสลักภาชนะหรือเครื่องประดับนั้นแล้วขัดผิวให้เงางาม เช่น ถมนคร ถมเงิน ถมทอง

คำว่า “ถม” นั้นภาษาไทย ซึ่งอาจมาจากคำว่า “ถมฺภ” ธาตุในภาษาบาหลี หรือ “สตมฺภ” ธาตุในภาษาสันสกฤต ซึ่งแปลว่า ทำให้แน่น อัด ยัด ติด และทำให้เต็ม ดังนั้น เมื่อกล่าวถึงเครื่องถมของไทยก็คือการทำลวดลายที่ขูดลงบนผิวภาชนะที่เป็นเงิน หรือทองให้เด่งขึ้น ด้วยการถมน้ำยาลงไปในร่องให้เต็มนั้นเอง

เครื่องถมนี้ในภาษาอังกฤษเรียกว่า นีลโลแวร์ (Niello Wares) และในเอ็นไซโคฟีเดียบริแตนิกา อธิบายว่า เป็นคำอิตาลี มาจากคำภาษาลาตินว่า ilgellum แผลงมาจากคำว่า Niger ซึ่งแปลว่า ดำ

ประวัติเครื่องถมเมืองนคร

ประวัติความเป็นมา

เครื่องถมกำเนิดขึ้นในเมืองไทยในสมัยใดไม่ปราฎกหลักฐานเป็นที่แน่ชัด แต่การทำเครื่องถมมีปรากฎทั่วไปทั้งในทวีปยุโยปและเอเซีย ในทวีปยุโรปมีที่ประเทศโปรตุเกส อังกฤษ รัชเซีย อิตาลีในทวิปเอเซียมีที่ อิหร่าน อินเดีย และไทย ความรู้ต่างๆที่เกี่ยวกับการทำเครื่องถม ในตะวันตก กล่าวกันว่านำมาจากตำราของอีแรคสิอุส ของชาวโรมันผู้เป็นนักประพันธ์ อาจจะอยู่ในพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ของฮีดอพิลุส นักบวช ซึ่งเขียนในพุทธสตวรรษที่ ๑๗ หรือ ๑๘ และขอบเบนเวนูโต เชลลิลี กับ กีออกีโอ วาซารี เขียนในพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งประมาณกันว่ามีมาก่อนสร้างกรุงโรม จากหลักฐานที่พบ มีเก็บอยู่ในพิพิธภัณฑ์อังกฤษ ๒ ชิ้น ชิ้นหนึ่งเป็นรูปนายพลทหารโรมัน เชื่อว่าเป็นฝีมือในพุทธศตวรรษที่ ๖ (พ.ศ.๕๔๔-๖๔๕) อีกชิ้นหนึ่งประมาณว่าทำไมต่ำกว่าพุทธศตรรษที่ ๙เป็นหีบเครื่องสำอางของสตรี แต่โดยลักษณะแล้ว มิใช่เครื่องถมอย่างของไทย หากแต่เป็นเครื่องลงยาสีดำที่เรียกว่า ทูลาซิลเวอร์ (Tula Silver) เงินทูลาร์เป็นสีเขียวๆคล้ายกับที่ไทยเรียกว่า “เมฆพัด” เมฆพัดที่กล่าวนี้ก็เป็นส่วนผสมของโลหะเช่นเดียวกับตัวยาถม ต่างกันตรงที่เมฆพัดมีแต่ตะกั่วกับทองแดง ส่วนยาถม มีตะกั่ว ทองแดงและเงิน จึงมีบางคนคิดว่าไทยทำถมได้เองปรับปรุงขึ้นจากเมฆพัด

ถมทอง

จากสมัยโรมันจนกระทั้งพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ศิลปะการทำเครื่องถมจะทำกันอยู่เป็นปกติในบางส่วนของทวีปยุโรป แต่ในรัสเซียและอินเดียนั้นได้ตกทอดสืบมา จนถึงสมัยปัจจุบันนี้พิพิธภัณฑ์อังกฤษมีสมบัติอยู่ชิ้นหนึ่ง เป็นรูปกระดูกท้องแข็ง (Fibular) เป็นถมเงินธรรมดาประดับด้วยแผ่นทองลายดุน ขุดพบในหลุบฝังศพแห่งหนึ่งในเคิร์ช (Kerch) ประเทศรัสเซีย ศิลปะ อุตสาหกรรมนี้ได้รับการวิวัฒนาขึ้นสู่ความสมบูรณ์อย่างสูงสุดในอิตาลีตลอดเวลา ได้ใช้ในการแต่งถาดเรี่ยไรตามโบสถ์ แต่งหน้าแท่นบูชา และของอื่นๆที่มีลักษณะเดียวกัน

ตามคำอธิบายข้างต้นนี้ไม่ได้ยืนยันแน่ชัดว่าการทำเครื่องถมนั้นชาติใด ประเทศใด เป็นต้นคิดขึ้นตั้งแต่เมื่อใด นอกจากนี้แล้วยังไม่พบเอกสารที่แสดงว่าศิลปหัตถกรรมเครื่องถมนี้เกิดขึ้นโดยความคิดประดิษฐ์ของชาวตะวันตก เช่น ชาวโรมัน หรือชาวตะวันออก เช่น อินเดีย แม้ว่าการทำเครื่องถมในอินเดียจะสืบเนื่องมาจนปัจจุบัน ต่อมาความรู้ในการทำเครื่องถมเหล่านั้นได้แพร่หลายเข้ามาสู่ประเทศไทย มีผู้ให้ความเห็นไว้ ๓ ประเด็น คือ

เครื่องถมเมืองนคร

1. ไทยรับศิลปะหัตกรรมเครื่องถมมาจากโปรตุเกส

คือ พระเจ้ามานุเอลแห่งโปรตุเกส ได้ส่งฑูตมาเจริญพระราชไมตรีกับกรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จหระรามาธิบดีที่ 2 ในปี พ.ศ. 2061 และทรงอนุญาตให้ชาวโปรตุเกสเข้ามาทำการค้าครั้งแรกในพระราชอาณาจักรไทย ตามหัวเมืองใหญ่ 4 หัวเมือง คือ นครศรีธรรมราช ปัตตานี ปะริด และกรุงศรีอยุธยา ซึ่งทำให้คนไทยรับเอาขนบประเพณีและศิลปะวิทยาการหลายอย่างมาจากโปรตุเกส เช่น การติดตลาดนัด การชนวัว โดยเฉพาะที่เมืองนครศรีธรรมราชได้รับเอาวิธีการทำเครื่องถมไว้ และต่อมาวิธีการทำเครื่องถมก็ได้แพร่หลายมายังกรุงศรีอยุธยา จนมีอยู่ครั้งหนึ่งในสมัยสมเด็จพระนารายมหาราช โปรดเกล้าให้ทำไม้กางเขนส่งไปถวายสันตะปาปาที่กรุงโรม ก็ได้รับสั่งให้เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชหาช่างถมที่มีฝีมือเข้ามาทำ แสดงว่าเมืองนครศรีธรรมราชเป็นศูนย์กลางของการทำเครื่องถม

2. ไทยรับศิลปหัตกรรมเครื่องถมมาจากอินเดีย

ชาวอินเดีย ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ทางด้านศิลปะหัตกรรมเครื่องเงิน ได้เข้ามาติดต่อการค้าขายกับชาวไทยที่เมืองนครศรีธรรมราช ได้ถ่ายทอดวิธีการทำเครื่องถมดังกล่าวนี้ไว้ที่นครศรีธรรมราชเพราะเมืองนครศรีธรรมราชเป็นเมืองท่าหนึ่งที่มีชาวมลายู ชาวชวา และชาวอินเดียเข้ามาติดต่อค้าขายเสมอและชาวนครศรีธรรมราชได้รับความรู้เรื่องเครื่องถมมาจากชาวอินเดียแล้ว วิชาเครื่องถมจึงแพร่หลายสู่กรุงศรีอยุธยา

กล่องถมเงิน รัชกาลที่ ๘

3. เป็นภูมิปัญญาของคนไทย

โดยปรับปรุงจากเมฆพัดดงได้กล่าวไว้ข้างต้น ซึ่งเป็นส่วนผสมของตะกั่วกับทองแดงเมื่อเอาเนื้อเงินผสมลงไปก็จะคล้ายยาถมมาก ถ้าใช้ส่วนผสมของเงิน ทองแดง ตะกั่วที่ได้สัดส่วนกัน ก็จะได้ยาถมที่ดีที่สุด ถ้าใช้สูตรที่มีเนื้อเงินมากขึ้นผสมกับวัตถุอื่นบางอย่างอาจกลายเป็นเนื้อเงินตรานโมได้ ซึ่งบรรพบุรุษของชาวนครศรีธรรมราชได้สร้างเงินตรานโมได้ และอาจเป็นผู้คิดค้นการสร้างน้ำยาถมต้าย

ศาสตราจารย์หลวงวิศาลศิลปกรรม แห่งมหาวิทยาลัยศิลปากรยืนยันว่า ยาถมนี่ไทยมิได้รับต้นตำหรับมาจากชาติใดเลย เกิดข้นในประเทศไทยโดยแท้ ข้าพเจ้าเชื่อและที่ว่าเกิดขึ้นในประเทศไทยนั้นก็คือ ที่นครศรีธรรมราชนี่เอง

ประเภทของเครื่องถม

เครื่องถมนั้นอาจจำแนกออกได้ ๓ ประเภท ไปตามเทคนิควิธีการทำเครื่องถมได้แก่

ถมดำ หรือ ถมเงิน

1 ถมดำ หรือ ถมเงิน

ถมดำบางทีก็เรียกว่า ถมเงิน มีในสมัยอยุธยา เป็นถมที่เก่าแก่ที่สุด มีลักษณะเป็นเนื้อถมที่ถมลงไปอยู่บนพื้นตามร่องลายเป็นสีดำมัน ซึ่งเนื้อถมจะขับลวดลายให้เด่นงามอยู่บนพื้นสีเงิน

ถมทอง

2 ถมทอง

ถมทอง ก็คือ ถมดำที่ทำการทาทองหรือเปียกทองทับลงไปบนเส้นเงินหรือลวดลายสีเงินจึงทำให้เครื่องถมนั้นมีลักษณะเป็นลวดลายสีทองอยู่บนพื้นดำเพิ่งมีมากในสมัยรัตนโกสินทร์

ถมตะทอง

3 ถมตะทอง

ถมตะทอง เป็นคำเรียกของช่างถมที่หมายถึงวิธีการระบายทอง หรือแต้มทองเป็นแห่ง ๆ มิใช่ระบายเป็นพืดไปหมดอย่างเช่น กมทอง การแต้มทองหรือระบายทองในที่บางแห่งของถมดำนี้ เป็นการเน้นจุดเด่นหรือต้องการแสดงอวดภาพหรือลายเด่น ๆ ดังนั้นถมตะทองจึงเป็นของหายากมากกว่าถมเงินหรือถมทอง ในสมัยอยุธยานั้นจะนิยมทำถมตะทองมากกว่าถมทอง และถมทองที่พบมากในปัจจุบันส่วนใหญ่จะเป็นถมที่ทำขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
cr : nakhon-nielloware.blogspot.com
ถมนคร :  : เครื่องถมเมืองนคร – งานหัตถศิลป์ชั้นสูงคู่เมืองนครศรีธรรมราช

 
ถมนคร : คุณค่าที่คู่ควร ถมนคร, thomnskhon
 
SHARE