“วันวิสาขบูชา” งดเวียนเทียน ตามมติมหาเถรสมาคม

1238
views
วันวิสาขบูชา

“วันวิสาขบูชา” วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอีกหนึ่งวันของประชาชนชาวไทยและทั่วโลก ในปีนี้ตรงกับวันที่ 6 พ.ค. 63 สำหรับการร่วมกิจกรรมวันวิสาขบูชา สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม ได้ออกประกาศห้ามจัดกิจกรรมที่ทำให้ประชาชนมารวมตัวกัน โดยให้ปฏิบัติเฉพาะกิจของสงฆ์เท่านั้น นอกจากนี้ยังมีวัดบางแห่งเริ่มมีกิจกรรมถ่ายทอดสดผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์

วันวิสาขบูชา

วันที่ 5 พฤษภาคม 2563 นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. กล่าวถึงการปฏิบัติตัวของพุทธศาสนิกชนในวันวิสาขบูชาในวันพรุ่งนี้ (6 พฤษภาคม) ว่า ข้อสรุปจากคณะกรรมการมหาเถรสมาคม ออกมาว่า ให้ทุกวัดงดจัดกิจกรรมที่ประชาชนมารวมกลุ่มกันทุกประเภท ยกเว้นการปฏิบัติกิจของสงฆ์ นับตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2563 เป็นต้นไป จนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค โควิด-19 จะเข้าสู่ภาวะปกติ

อย่างไรก็ตาม ประชาชนสามารถเวียนเทียนที่บ้านได้ เช่น ตามคำแนะนำของวัดบวรนิเวศวิหาร ที่เชิญชวนประชาชนเวียนเทียนที่บ้าน เวลา 19.00 น. พร้อมพระสงฆ์ที่จะเวียนเทียนที่วัด ซึ่งอาจจะมีการถ่ายทอด โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามา ขอให้ถือเป็นการปรับตัวแบบวิถีใหม่จาก Covid 19 โดยในฐานะพุทธศาสนิกชนที่ดี ก็ขอให้ปรับตัวตามนี้ เพื่อความปลอดภัยของทั้งประชาชนและพระสงฆ์

วันวิสาขบูชา

หลักธรรมในวันวิสาขบูชา

ไตรลักษณ์ – ใน 3 เหตุการณ์สำคัญข้างต้น พุทธศาสนิกชนจะพบว่า มีคติธรรมหลักคือ “ไตรลักษณ์” หรือ “อนิจจลักษณะ” อันได้แก่ความเป็นธรรมดาของโลก 3 ประการ คือ อนิจจัง-ความไม่เที่ยง ทุกขัง-ความเป็นทุกข์ ตั้งอยู่ในสภาพเดิมมิได้ และอนัตตา-ความที่สังขารทั้งหลายไม่สามารถบังคับบัญชาให้เป็นไปตามที่เราต้องการได้ (เช่น บังคับไม่ให้แก่ไม่ได้ บังคับไม่ให้ตายไม่ได้) ซึ่งทุกสรรพสิ่งในโลก ล้วนตกอยู่ในสภาพ 3 ประการนี้ แม้พระพุทธเจ้าผู้เป็นพระบรมศาสดาของโลก ก็ยังต้องทรงตกอยู่ในกฎเหล่านี้ ไม่มีใครสามารถพ้นไปได้

ความกตัญญู – ในเหตุการณ์วันประสูติ สามารถยกหลักธรรมมาเทียบเคียงได้ คือ “หลักความกตัญญู” เพราะในพระพุทธประวัติ แม้พระนางสิริมหามายา ผู้เป็นพระราชมารดาของเจ้าชายสิทธัตถะจะสิ้นพระชนม์ไปหลังที่เจ้าชายประสูติได้เพียง 7 วัน แต่เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะได้ตรัสรู้แล้ว ก็ได้เสด็จไปโปรดพระพุทธมารดาบนดาวดึงสเทวโลก ถึงแม้พระเจ้าสุทโธทนะ ผู้เป็นพระราชบิดา พระพุทธองค์ก็เสด็จไปโปรดถึงพระราชวังที่ประทับ จนพระเจ้าสุทโธทนะประชวรหนักใกล้สวรรคต พระพุทธองค์ก็ได้เสด็จเข้าไปโปรดจนพระราชบิดาได้บรรลุสำเร็จเป็นพระอรหันต์และนิพพานในพระราชวังในวันนั้นเอง

เวียนเทียนวันวิสาขบูชา

อริยสัจ 4 – ในเหตุการณ์วันตรัสรู้ สามารถยกหลักธรรมมาเทียบเคียงได้ คือ “อริยสัจ 4” อันเป็นหลักธรรมในการแก้ปัญหาชีวิตที่พระพุทธองค์ตรัสรู้ คือ

“ทุกข์” ความไม่สบายกายไม่สบายใจ สภาวะที่ทนได้ยากทั้งหลาย (ปัญหา)
“สมุทัย” ต้นเหตุของความทุกข์ คือกิเลสตัณหา (ต้นเหตุของปัญหา)
“นิโรธ” จุดหมายที่จะดับทุกข์ คือนิพพาน (วางเป้าหมาย)
“มรรค” แนวทางในการปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ (ลงมือแก้ไข)

วัดชัยชุมพล อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช
วัดชัยชุมพล อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช

ความไม่ประมาท – ในเหตุการณ์วันปรินิพพาน พระพุทธองค์ตรัสปัจฉิมโอวาทไว้บทหนึ่ง อันเป็นยอดของคำสอนในพระพุทธศาสนาที่ทุกคนควรนำมาปฏิบัติ คือ การมีสติอยู่ทุกเมื่อ ไม่ให้ความทุกข์ร้อนใจอันเกิดจากอำนาจกิเลสเข้าครอบงำ กล่าวคือ ความไม่ประมาทในกาลทุกเมื่อ

 
ถมนคร : คุณค่าที่คู่ควร ถมนคร เครื่องถมเมืองนครศรีธรรมราช
 
SHARE